พระคาถารัตนมาลา(อิติปิโส)
บาลีแสดงคุณพระรัตนตรัยที่เราท่องขึ้นปากและสวดกันอยู่ทั่วไป ส่วนพระพุทธคุณคือ อิติปิโส ภควา ฯลฯ ส่วนพระธรรมคุณคือ สวากขาโต ฯลฯ ส่วนพระสังฆคุณคือ สุปฏิปันโน ฯลฯ การสวดมักสวดจนจบทั้ง ๓ ส่วนเสมอคือ ขึ้นอิติปิโส ไปจบ ปุญญักเขตตัง ฯ ภาษาปากไทยจึงเรียกง่ายๆว่า สวดอิติปิโสตามคำขึ้นต้น แล้วในที่สุดคำว่า อิติปิโส จึงกลายเป็นคำที่คนทั้งหลายรู้จักดีกว่าจะเรียกอย่างอื่น อิติปิโส คำเดียว หมายรวมทั้งพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณเลยทีเดียว
อิติปิโส นี้มีนักปราชญ์เล่นกันมาก (คำว่าเล่นในที่นี้หมายความว่าสนใจคิดค้นจนเกิดความชำนิชำนาญในด้านต่างๆ ที่จะผูกใจไว้กับอิติปิโส เช่น สามารถสวดอิติปิโสถอยหลังได้ฉับๆ อย่างกับว่าเล่น และยักเยื้องอักขระของอิติปิโสเรียงไปในรูปต่างๆ แล้วท่องจนว่าได้ฉับๆเป็นว่าเล่น) นานมาแล้ว มีท่านผู้หนึ่ง (หรือหลายท่านก็ไม่ทราบแน่) ไม่ปรากฏนาม เล่นถอดอักขระอิติปิโสออกได้ พระพุทธคุณเต็ม ๕๖ อักขระ พระธรรมคุณเต็ม ๓๘ อักขระ พระสังฆคุณสังเขป ๑๔ อักขระ รวมเป็น ๑๐๘ อักขระ ใช่แต่เท่านั้น ยังเล่นแต่งคาถาพรรณนาคุณพระรัตนตรัย โดยถือเอาอักขระ ๑๐๘ ที่ถอดได้นั้นเป็นต้นบท สุดแต่จะให้เป็นศัพท์ปลได้ตามความประสงค์ คาถา ละอักขระ จึงเป็นคาถาพรรณนาคุณพระรัตนตรัยถึง ๑๐๘ คาถา ให้ชื่อว่า “อิติปิโสรัตนมาลา” คงหมายความว่า อิติปิโสคือคุณพระรัตนตรัยที่แจกออกไปตามอักขระ แล้วร้อยกรองเข้าไว้ด้วยกันดุจพวงมาลาฉะนั้น
อิติปิโสรัตนมาลา ๑๐๘ คาถา มีมาแต่โบราณกาล สืบทอดกันมาหลายสำนวน หลายฉบับ บางฉบับเขียนเล่าไว้ว่า พระอาจารย์หลายท่านช่วยกันแต่ง จารึกไว้ในแผ่นศิลา แล้วนำมาแช่ไว้ในสระหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีหลายท่านทรงจำไว้ได้ มากบ้างน้อยบ้างสืบๆกันมา
ตั้ง นะโมฯ ๓ จบ
พระพุทธคุณ ๕๖
"อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร
ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ"
พระพุทธคุณ ๕๖
|
คำแปลพระอิติปิโสรัตนมาลา
|
อุปเทศการใช้พระคาถาแต่ละบท *
|
||
๑
|
อิ.
|
อิฏโฐ
สัพพัญญุตัญญานัง
อิจฉันโต อาสะวักขะยัง อิฏฐัง ธัมมัง อะนุปปัตโต อิทธิมันตัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณ ทรงปรารถนาธรรมที่สิ้นอาสวะ
ก็ได้ทรงบรรลุธรรมที่ทรงปรารถนาแล้ว ข้าฯขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้ทรงมีความสำเร็จพระองค์นั้น
|
จงหมั่นภาวนา
ป้องกันศาสตรา ห่อนต้องอินทรีย์ ทั้งให้แคล้วคลาด นิราศไพรี ศิริย่อมมี
แก่ผู้ภาวนา (ภาวนาป้องกันอาวุธเช่น หอก ดาบ เหลน หลาว)
|
๒
|
ติ.
|
ติณโณ โย
วัฏฏะทุกขัมหา
ติณณัง โลกานะมุตตะโม ติสโส ภูมี อะติกกันโต ติณณะโอฆัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงข้ามพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะแล้ว เป็นผู้ทรงพระคุณสูงสุดในไตรโลก ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะแล้วพระองค์นั้น
|
ถึงบทนี้ไซร้
หมั่นภาวนาไว้ กันภัยนานา ภูตผีปีศาจ มิอาจเข้ามา ทั้งปอบทั้งห่า ไม่มาหลอกหลอน (ภาวนาป้องกันภูตผีปีศาจ)
|
๓
|
ปิ.
|
ปิโย เทวะมะนุสสานัง
ปิโยพรหมานะมุตตะโม ปิโย นาคะสุปัณณานัง ปิณินทริยัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นที่รักสูงสุดของพรหมทั้งหลาย
ตลอดไปจนถึงดิรัจฉานมีนาคและครุฑเป็นอาทิ ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้มีอินทรีย์อิ่มพระองค์นั้น
|
ภาวนานึก สติตรองตรึก
อย่าทำร้อนใจ สารพัดเมตตา อย่าได้อาวรณ์ ครูแต่เก่าก่อน เคยได้ใช้มา
เสกหมากรับประทาน เป็นที่เสน่หา แก่ชนทั้งหลาย (ภาวนาเสกกระแจะ น้ำมันหอม หมากพลู
สารพัดที่กินที่ใช้ เป็นเสน่ห์แก่คนทั้งปวง)
|
๔
|
โส.
|
โสกา วิรัตตะจิตโต โย
โสภะนาโม สะเทวะเก โสกัปปัตเต ปะโมเทนโต โสภะวัณณัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
มีพระจิตคลายจากความโศกแล้ว เป็นผู้งดงามในโลกนี้กับทั้งเทวโลก
ทรงยังสัตว์ทั้งหลายผู้เศร้าโศกให้หายโศก ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้มีพระฉวีวรรณงามพระองค์นั้น
|
ภาวนาทุกวัน
ตามกำลังวัน ป้องกันอันตราย ทุกข์ภัยพิบัติ สารพัดเหล่าภัย ศัตรูทั้งหลาย
แคล้วคลาดห่างไกล (ภาวนาเพื่อบรรเทาทุกข์โศกทั้งปวง)
|
๕
|
ภะ.
|
ภะชิตา เยนะ สัทธัมมา
ภัคคะปาเปนะ ตาทินา ภะยะสัตเต ปะหาเสนโต ภะยะสันตัง นะมามิหัง |
พระสัทธรรมทั้งหลาย
อันพระพุทธเจ้าพระองค์ใดผู้มีบาปอันหักทำลายแล้ว มีพระหฤทัยคงที่ ทรงแจกแล้ว
พระพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงยังสัตว์ผู้กลัวภัยให้หายกลัว ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้มีภัยอันระงับแล้วพระองค์นั้น
|
จงภาวนา กันโรคโรคา
ไข้เจ็บทั้งหลาย ศัตรูมุ่งมาตร มิอาจทำได้ พินาศยับไป ด้วยพระคาถา (ภาวนาป้องกัน
ศัตรูทำร้ายมิได้)
|
๖
|
คะ.
|
คะมิโต เยนะ สัทธัมโม
คะมาปิโต สะเทวะกัง คัจฉะมาโน สิวัง รัมมัง คะตะธัมมัง นะมามิหัง |
พระสัทธรรม
อันพระพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงบรรลุแล้ว ทรงยังมนุษย์กับทั้งเทวดาให้บรรลุด้วย
ทรงบรรลุถึงพระนิพพานอันควรยินดี ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้มีธรรมอันบรรลุแล้วพระองค์นั้น
|
ถ้าหมั่นภาวนา
โรคภัยโรคา ไม่มายายี จะค่อยบรรเทา หากโรคเก่ามี มิช้ากายี สิ้นทุกข์สุขา (ภาวนาบรรเทาโรคาพยาธิ)
|
๗
|
วา.
|
วานา นิกขะมิ โย
ตัณหา
วาจัง ภาสะติ อุตตะมัง วานะ นิพพาปะ นัตถายะ วายะมันตัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงออกจากวานะ (เครื่องร้อยรัด) คือตัณหาแล้ว ทรงกล่าวพระวาจาอันเลิศแล้ว
เพื่อประโยชน์แก่การดับไฟคือวานะ ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้ทรงมีความเพียรพยายามพระองค์นั้น
|
บทนี้ดีล้ำ
ภาวนาซ้ำซ้ำ ป้องกันศัตรู เหล่าโจรอาธรรม์ พากันหนียู้ ไม่คิดต่อสู้ ออกได้หายไป (ภาวนาป้องกันโจรผู้ร้าย)
|
๘
|
อะ.
|
อะนัสสา สะกะสัตตานัง
อัสสาสัง เทติ โย ชิโน อะนันตะคุณะสัมปันโน อันตะคามิง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
โปรดประทานความอุ่นใจแก่สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีความอุ่นใจ
พระองค์เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยพระคุณหาที่สุดมิได้ ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระชินเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรงบรรลุถึงที่สุด (แห่งความทุกข์)
|
ให้ภาวนา
กันเสือช้างม้า ทำร้ายรบกวน เป็นมหาจังงัง สิ้นทั้งขบวน จระเข้ประมวญ
สัตว์ร้ายนานา (ภาวนาป้องกันเสือและจระเข้)
|
๙
|
ระ.
|
ระโต นิพพานะสัมปัตเต
ระโต โย สัตตะโมจะเน รัมมาเปตีธะ สัตเต โย ระณะจัตตัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงยินดีแล้วในพระนิพพานสมบัติ พระองค์ใดทรงยินดีแล้วในอันปลดเปลื้องสัตว์
(จากทุกข์) พระองค์ใดทรงยังสัตว์ทั้งหลาย ในโลกนี้ให้ยินดี
(ในการเปลื้องทุกข์นั้นด้วย) ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้สละข้าศึก
(คือกิเลส) เสียได้
|
ภาวนาไว้ คุณคนคุณไสย
สารพัดพาลา ใช้ป้องกันได้ มิให้เข้ามา ถูกต้องกายา พินาศสูญไป (ป้องกันการกระทำคุณผีและคุณคนทั้งปวง)
|
๑๐
|
หัง.
|
หัญญะติ ปาปะเก ธัมเม
หังสาเปติ ปะรัง ชะนัง หังสะมานัง มะหาวีรัง หันตะปาปัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงกำจัดธรรมทั้งหลายอันเป็นบาปเสียได้ ยังชนอื่นให้ร่าเริง (ในธรรมอันเป็นกุศล)
ข่าฯขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้มีพระหฤทัยร่าเริงกล้าหาญยิ่งใหญ่กำจัดบาปได้
|
ให้ภาวนา เมื่อเวลา
เข้าสู่สงคราม ข้าศึกศัตรู ใจหู่ครั่นคร้าม ไม่คิดพยาบาท ทำร้ายเราแล (ภาวนาเพื่อเข้าสู่ณรงค์สงคราม)
|
๑๑
|
สัม.
|
สังขะตาสังขะเต ธัมเม
สัมมา เทเสสิ ปาณินัง สังสารัง สังวิฆาเฏติ สัมพุทธันตัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงแสดงธรรมทั้งที่เป็นสังขตะ ทั้งที่เป็นอสังขตะ แก่สัตว์ทั้งหลายโดยถูกต้อง
ทรงพิฆาตสงสารวัฏเสียได้
ข้าฯขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
|
ภาวนาตรึก
ช่างดีพิลึก ท่านในรำพรรณ เมื่อจะเข้าสู้ เหล่าศัตรูสรรพ์ หมดสิ้นด้วยกัน
พ่ายแพ้ฤทธี (ภาวนาถ้าจะเข้าสู่สงคราม หาผู้ทำร้ายมิได้แล)
|
๑๒
|
มา.
|
มาตาวะ ปาลิโต สัตเต
มานะถัทเธ ปะมัททิโต มานิโต เทวะสังเฆหิ มานะฆาฏัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงถนอมสัตว์ทั้งหลาย ดังมารดาถนอมบุตร
พระพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงกำหราบเสียได้ซึ่งคนกระด้างเย่อหยิ่ง
พระพุทธเจ้าพระองค์ใดอันหมู่เทวดานับถือแล้ว
ข้าฯขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้กำจัดมานะได้
|
ภาวนาไว้
ถ้าหมั่นเสกใช้ ทุกวันยิ่งดี แก้คนใจแข็ง มานะแรง มีใจอ่อนทันที ไม่มีเย่อหยิ่ง (ภาวนาเพื่อทำคนแข็งให้อ่อน)
|
๑๓
|
สัม.
|
สัญจะยัง ปาระมี
สัมมา
สัญจิตะวา สุขะมัตตะโน สังขารานัง ขะยัง ทิสวา สันตะคามิง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงสั่งสมพระบารมีทั้งหลายมาโดยชอบ ทรงก่อสร้างความสุขแก่พระองค์ขึ้นได้
ข้าฯขอนอบน้อมพระพุทธเจาพระองค์นั้น ผู้ทรงเห็นความเสื่อมสิ้นแห่งสังขารทั้งหลาย
แล้วได้บรรลุถึงธรรมอันรำงับ
|
สำหรับบทนี้
ตำรับกล่าวชี้ ว่าดีจริง สำหรับเสกยา ปัญญาดียิ่ง สุดจะหาสิ่ง ใดมาเปรียบปาน (ภาวนาเสกของกิน
มีปัญญา)
|
๑๔
|
พุท.
|
พุชฌิตวา จะตุสัจจานิ
พุชฌาเปติ มะหาชะนัง พุชฌาเปนตัง สิวัง มัคคัง พุทธะเสฏฐัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ตรัสรู้สัจจะทั้ง ๔ แล้ว ทรงยังมหาชนให้รู้ด้วย
ข้าฯขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐพระองค์นั้น
ผู้ทรงช่วยสัตว์ให้รู้ทางพระนิพพาน
|
ภาวนาไป เสนียดจัญไร
มิได้พ้องพาน อุปสรรคไรๆ ก็ไม่พะพาน แสนจะสำราญ ให้หมั่นภาวนา (ภาวนาป้องกันเสนียดจัญไร
อุปัททะทั้งปวง)
|
๑๕
|
โธ.
|
โธติ ราเค จะ โทเส จะ
โธติ โมเห จะ ปาณินัง โธตะเกลสัง มะหาปุญญัง โธตาสะวัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงล้างเสียซึ่งราคะและโทสะ ทรงล้างเสียซึ่งโมหะของสัตว์ทั้งหลาย
ข้าฯขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้มีบุญมาก มีกิเลสอาสวะอันล้างแล้ว
|
ภาวนาไว้
กันเสือช้างได้ ทั้งสุขหนา ใช้ป้องกันบ้าง สัตว์ร้ายนานา ไม่อาจเข้ามา ยายีบีฑา (ภาวนาป้องกันสัตว์ร้ายเช่น
ช้าง เสือ)
|
๑๖
|
วิช.
|
วิเวเจติ อะสัทธัมมา
วิจิตะวา ธัมมะเทสะนัง วิเวเก ฐิตะจิตโต โย วิทิตันตัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงยังสัตว์ให้เลิกร้างห่างไกลจากอสัทธรรม ทรงก่อการแสดงธรรมขึ้น
เป็นผู้มีพระจิตตั้งอยู่ในวิเวก ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้เป็นนักปราชญ์
|
สำหรับบทนี้
คุณาย่อมมี อติเรกนานา กันพวกศัตรู เหล่าหมู่พาลา ไม่อาจเข้ามา หลบหน้าหนีไป (ภาวนาป้องกันศัตรู
ทำให้มีเมตตาจิต)
|
๑๗
|
ชา.
|
ชาติธัมโม ชะราธัมโม
ชาติอันโต ปะกาสิโต ชาติเสฏเฐนะ พุทเธนะ ชาติมุตตัง นะมามิหัง |
ชาติธรรม ชราธรรม
ธรรมอันเป็นที่สุดแห่งชาติ (คือ มรณธรรม)
พระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระชาติอันประเสริฐทรงประกาศแล้ว ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระองค์ผู้ทรงพ้นจากชาติแล้ว
|
ภาวนาไว้
คุณไสยอนันต์ ทำมามิได้ จงหมั่นภาวนา อย่าได้สงสัย อาจารย์กล่าวไว้ ดังได้อ้างมา (ภาวนาป้องกันการกระทำ
จะไปทิศานุทิศใดคนไม่ทำร้าย)
|
๑๘
|
จะ.
|
จะเยติ ปุญญะสัมภาเร
จะเยติ สุขะสัมปะทัง จะชันตัง ปาปะกัมมานิ จะชาเปนตัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงก่อสร้างพระบุญสมภารมา จึงสั่งสมพระสุขสมบัติขึ้นได้ ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงละทิ้งเอง
และยังสัตว์ทั้งหลายให้ละทิ้งด้วย ซึ่งบาปกรรมทั้งหลาย
|
บทนี้ดีล้น
เสกทำน้ำมนต์ รดเกล้ากายา เสกมะกรูดส้มป่อย ถ้อยความมีมา ใช้สระเกษา
ถ้อยความสูญไป (ภาวนาสระหัว หายถ้อยความ ไม่เป็นเหตุให้วิวาทกับใครๆ)
|
๑๙
|
ระ.
|
ระมิตัง เยนะ
นิพพานัง
รักขิตา โลกะสัมปะทา ระชะโทสาทิเกลเสหิ ระหิตันตัง นะมามิหัง |
พระนิพพาน
อันพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงยินดีแล้ว
ความดีสำหรับโลกอันพระพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงรักษาไว้แล้ว ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ละเว้นจากกิเลสทั้งหลาย
|
ภาวนา ศัตรูอาธรรพ์
สรรพโรคภัย กันได้หลายอย่าง ทั้งเสนียดจัญไร ภาวนาไว้ อย่าได้กังขา (ภาวนากันเสนียดจัญไรทั้งปวง)
|
๒๐
|
ณะ.
|
นะมิโตเยวะ พรหเมหิ
นะระเทเวหิ สัพพะทา นะทันโต สีหะนาทัง โย นะทันตัง ตัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
อันพรหมและเทวดา มนุษย์ทั้งหลายนอบน้อมอยู่ทุกเมื่อ
พระพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงบันลือสีหนาท ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรงบันลือสีหนาทอยู่
|
บทนี้เป็นเอก
มีคุณเอนก สุดจะพรรณนา ระงับดับโศก กันโรคผีห่า อันจะมาคร่า ชนมายุไซร้ (ภาวนาป้องกันห่าลงแล)
|
๒๑
|
สัม.
|
สังขาเร ติวิเธ โลเก
สัญชานาติ อะนิจจะโต สัมมา นิพพานะสัมปัตติ สัมปันโน ตัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงกำหนดรู้สังขารทั้งหลายในสามโลก โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ทรงถึงพร้อมด้วยพระนิพพานสมบัติโดยชอบ ข้าฯขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
|
สำหรับบทนี้
ท่านอาจารย์ แนะนำกล่าวไว้ ใช้เป็นเสน่ห์ สมคะเนดังใจ อย่าได้สงสัย ดียิ่งนักหนา (ภาวนาเป็นเสน่ห์)
|
๒๒
|
ปัน.
|
ปะกะโต โพธิสัมภาเร
ปะสัฏโฐ โย สะเทวะเก ปัญญายะ อะสะโม โหติ ปะสันนัง ตัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงก่อสร้างโพธิสมภารมา จึงได้เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์กับทั้งเทวดา
หาผู้เสมอมิได้ด้วยพระปัญญาธิคุณ ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ผ่องใส
|
บทนี้สามารถ
กันภูตปีศาจ ไม่อาจเข้ามา หลอกหลอนเราได้ ท่านให้ภาวนา จงได้อุตส่าห์
ท่องให้ขึ้นใจ (ภาวนาป้องกันภูตผีปีศาจทั้งปวง)
|
๒๓
|
โน.
|
โน เทติ นิระยัง
คันตุง
โน จะ ปาปัง อะการะยิ โน สะโม อัตถิ ปัญญายะ โนนะ ธัมมัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ป้องกันสัตว์ไว้มิให้ไปนรก และมิให้ทำบาป ผู้เสอพระองค์ด้วยปัญญาหามีไม่ ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้หาความบกพร่องมิได้
|
บทนี้ภาวนา
ป้องกันฟ้าผ่า และช้างม้าภัย มีจิตจำนง ประสงค์สิ่งใด ลงของก็ได้ ใช้ตามปรารถนา (ภาวนาป้องกันช้าง)
|
๒๔
|
สุ.
|
สุนทะโร วะระรูเปนะ
สุสะโร ธัมมะภาสะเน สุทุททะสัง ทิสาเปติ สุคะตันตัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
มีพระรูปงาม ทรงแสดงธรรมเล่าก็มีพระเสียงดี โปรดเวไนยชนให้เห็นธรรมอันเห็นได้ยาก
ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้เสด็จไปดีแล้ว
|
ภาวนากันคุณว่านยา
อันเขากระทำมา
ทั้งอาวุธ และเครื่องศาสตรา แม้ถูกกายา ก็มิเป็นไร (ภาวนาป้องกันการกระทำและอาคมทั้งปวง) |
๒๕
|
คะ.
|
คัจฉันโต โลกิยา
ธัมมา
คัจฉันโต อะมะตัง ปะทัง คะโต โส สัตตะโมเจตุง คะตัญญาณัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
เสด็จไปเสียจากโลกียธรรม ถึงโลกุตรธรรมอันเป็นอมตบท
พระองค์เสด็จไปไหนๆก็เพื่อปลดเปลื้องสัตว์จากทุกข์
ข้าฯขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว
|
ทำน้ำมนต์
บริกรรมพร่ำบ่น อย่าได้เมามัว ประพรมสินค้า จงอย่ายิ้มหัว กำไรเกินตัว
อย่ากลัวขาดทุน (ภาวนาเพื่อค้าขายกินรุ่งเรือง)
|
๒๖
|
โต.
|
โตเสนโต วะระธัมเมนะ
โตสัฏฐาเน สิเว วะเร โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง โตละจิตตัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงโปรดสัตว์ให้แช่มชื่นด้วยพระธรรม
ทรงก่อความยินดีในพระนิพพานอันเป็นฐานที่ควรยินดีให้เกิดมีแก่สัตว์ทั้งหลาย ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีพระจิตเที่ยงตรง
|
ภาวนาเสก
มีคุณอย่างเอก เข้าหาเจ้าขุน มูลนายเจ้าพระยา เมตตาอุดหนุน โปรดปรานการุณ
เพราะคุณคาถา (ภาวนาเข้าสู่ขุนนางและท้าวพระยาทั้งปวงมีความสวัสดี)
|
๒๗
|
โล.
|
โลเภ ชะหะติ สัมพุทโธ
โลกะเสฏโฐ คุณากะโร โลเภ สัตเต ชะหาเปติ โลภะสันตัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
เป็นอากรแห่งคุณความดีประเสริฐสุดในโลก ทรงละโลภะเสียได้
ทรงยังสัตว์ทั้งหลายให้ละโลภะด้วย ข้าฯ ขอนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้มีโลภะอันระงับแล้ว
|
ภาวนาเป่า ศัตรูทุกเหล่า
แม้กริ้วโกรธา แต่พอได้เห็น เอ็นดูเมตตา ปราณีนักหนา ดุจญาติของตน (ภาวนาทำให้ศัตรูกลับเป็นมิตร)
|
๒๘
|
กะ.
|
กันโต โย
สัพพะสัตตานัง
กัตวา ทุกขักขะยัง ชิโน กะเถนโต มะธุรัง ธัมมัง กะถาสัณหัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
เป็นผู้อันสัตว์ทั้งหลายรักใคร่ ทรงแสดงธรรมไพเราะ ทำความสิ้นทุกข์แห่งสรรพสัตว์
ข้าฯ ขอนอบน้อมพระชินเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระวาจาละเอียดสุขุม
|
เอาข้าวสารมา
แล้วภาวนา เสกให้หลายหน เสร็จแล้วซัดไป ไล่ผีบัดดล หนีไปไกลพ้น ไม่มาราวี (ภาวนาเสกข้าวสารซัดผีเข้า)
|
๒๙
|
วิ.
|
วินะยัง โย ปะกาเสติ
วิทธังเสตวา ตะโย ภะเว วิเสสัญญาณะสัมปันโน วิปปะสันนัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงประกาศพระวินัย ทรงทำลายไตรภพเสีย แล้วทรงถึงพร้อมด้วยพระญาณอันวิเศษ ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ใสสะอาดบริสุทธิ์
|
เสกขมิ้นและว่าน
เสกข้าวรับประทาน อยู่คงอย่างดี อีกอย่างหนึ่งไซร้ ไล่ขับผี ภูติพรายไม่มี
สิงสู่กายา (ภาวนาเพื่อการแข่งพนันสารพัด)
|
๓๐
|
ทู.
|
ทูเส สัตเต ปะหาเสนโต
ทูรัฏฐาเน ปะกาสะติ ทูรัง นิพพานะมาคัมมะ ทูสะหันตัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ยังสัตว์ผู้โกรธเคืองประทุษร้าย ให้ร่าเริงหายโกรธด้วยธรรม
พระพุทธเจ้าพระองค์ใดมีพระเกียรติคุณปรากฏไปไกล ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ลุถึงแดนไกลคือพระนิพพาน
แล้วกำจัดความร้ายได้
|
ภาวนาบทนี้
เมตตาปราณี ไม่มีโทสา หญิงชายทั้งหลาย รักใคร่หนักหนา ห่างไกลภัยยา
สิ้นทุกข์สดใส (ภาวนาจะไปก็ดี จะอยู่ก็ดี)
|
๓๑
|
อะ.
|
อันตัง ชาติชะราทีนัง
อะกาสิ ทิปะทุตตะโม อะเนกุสสาหะจิตเตนะ อัสสาเสนตัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าผู้ทรงพระคุณสูงสุดในหมู่มนุษย์พระองค์ใด
ได้ทรงทำที่สุดแห่งทุกข์ มีชาติและชรา เป็นต้นแล้ว ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้โปรดสัตว์ให้อุ่นใจ
ด้วยน้ำพระหฤทัยอุตสาหะเป็นอันมาก
|
จงได้ตรองตรึก
หมั่นพินิจนึก ภาวนาไป เห็นหน้า เมตตารักใคร่ ภาวนาไว้ เป็นศุภมงคล (ภาวนาให้ศัตรูกลับใจยินดี)
|
๓๒
|
นุต.
|
นุเทติ ราคะจิตตานิ
นุทาเปติ ปะรัง ชะนัง นุนะ อัตถัง มะนุสสานัง นุสาสันตัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงบรรเทาเสียได้ซึ่งราคะจิต ทรงยังคนอื่นให้บรรเทาด้วย ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงพร่ำสอนธรรมอันเป็นประโยชน์แน่แท้แก่มนุษย์ทั้งหลาย
|
บทนี้ดีเหลือ
ให้ใช้ในเมื่อ ถึงคราวอับจน ป้องกันผู้ร้าย โรคภัยเบียดตน พินาศปี้ป่น
ไม่ทันรบกวน (ภาวนากันหลับแล)
|
๓๓
|
ตะ.
|
ตะโนติ กุสะลัง
กัมมัง
ตะโนติ ธัมมะเทสะนัง ตัณหายะ วิจะรันตานัง ตัณหาฆาฏัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงเผยแผ่ธรรมอันเป็นกุศล ทรงขยายการแสดงธรรมให้กว้างขวางออกไป
ข้าฯขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้ทรงช่วยกำจัดตัณหาของสัตว์ทั้งหลายผู้พล่านอยู่ด้วยความอยากต่างๆ
|
ภาวนาเสก
ปลุกตัวและเลข ว่านยาทั้งมวล อนึ่งใช้เสก เครื่องคลาดก็ควร เมื่อรณศึกล้วน
เป็นศิริมงคล (ภาวนาเสกปลุกสารพัดทั้งปวง)
|
๓๔
|
โร.
|
โรเสนโต เนวะ โกเปติ
โรเสเหวะ นะ กุชฌะติ โรคานัง ราคะอาทีนัง โรคะหันตัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ไม่ทรงโกรธผู้ที่โกรธเอา ไม่ทรงพลอยโกรธไปกับพวกคนโกรธ ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงกำจัดโรคแห่งโรคทั้งหลาย มีราคะเป็นอาทิ
เสียได้
|
ภาวนาใช้เป็นไร
จากด้าวถิ่นตน ทั้งใช้ปลุกเสก ซึ่งเครื่องคงทน อย่าได้ฉงน แก้กันสรรพภัย (ภาวนากันภัยเมื่อจะมีที่ไปแล)
|
๓๕
|
ปุ.
|
ปุณันตัง อัตตะโน
ปาปัง
ปุเรนตัง ทะสะปาระมี ปุญญะวันตัสสะ ราชัสสะ ปุตตะภูตัง นะมามิหัง |
ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้ทรงขจัดบาปของพระองค์ ผู้ทรงบำเพ็ญพระบารมี ๑๐
ผู้เป็นพระโอรสของพระราชาผู้มีบุญ
|
บทนี้ศักดิ์สิทธิ์
ภาวนาดับพิษ สัตว์ร้ายทั้งหลาย ตะขาบแมลงป่อง หากต้องเหล็กใน จงภาวนาไว้
พิษห่างบางเบา (ภาวนากันจระเข้ และแมลงป่อง)
|
๓๖
|
ริ.
|
ริปุราคาทิภูตัง วะ
ริทธิยา ปะฏิหัญญะติ ริตตัง กัมมัง นะ กาเรตา ริยะวังสัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงกำจัดเสียได้ซึ่งสิ่งอันเป็นข้าศึก มีราคะเป็นต้น ด้วยพระบุญฤทธิ์
ไม่ทรงยังสัตว์ให้ทำกรรมที่เปล่าประโยชน์ ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้เป็นวงศ์อริยะ
|
บทนี้ภาวนา
รุ่งเรืองเดชา อำนาจแก่เรา ทั้งหญิงและชาย พอได้เห็นเรา ครั่นคร้ามไม่เบา
เมื่อเข้าสมาคม (ภาวนาเพื่อให้มีความองอาจกล้าหาญในท่ามกลางคนทั้งปวง)
|
๓๗
|
สะ.
|
สัมปันโน วะระสีเลนะ
สะมาธิปะวะโร ชิโน สะยัมภูญาณะสัมปันโน สัณหะวาจัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงถึงพร้อมด้วยศีล มีพระสมาธิอันประเสริฐ ประกอบด้วยพระสยัมภูญาณ ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระชินเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระวาจาละเอียดอ่อน
|
ภาวนาทุกวัน
หมู่เทพเทวัญ ชวนกันระดม พิทักษ์รักษา เจตนารมณ์ มิให้ระทม เดือดเนื้อร้อนใจ (ภาวนาสวดทุกวัน
เทวดามาฟัง)
|
๓๘
|
ทัม.
|
ทันโต โย สะกะจิตตานิ
ทะมิตะวา สะเทวะกัง ทะทันโต อะมะตัง เขมัง ทันตินทริยัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงฝึกจิตของพระองค์แล้ว ทรงฝึกมนุษย์กับทั้งเทวดาด้วย
โปรดประทานอมตธรรมอันเกษมแก่เขาทั้งหลาย ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้มีพระอินทรีย์อันฝึกได้ที่แล้ว
|
บทนี้ภาวนา
สำหรับเสกผ้า โพกเศียรครรไร เจริญราศี สวัสดีมีชัย เสก ณ ที่ไซร้ แมลงรูปบัดดล (ภาวนาเสกผ้านุ่งห่ม)
|
๓๙
|
มะ.
|
มะหุสสาเหนะ สัมพุทโธ
มะหันตัง ญาณะมาคะมิ มะหิตัง นะระเทเวหิ มะโนสุทธัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ได้บรรลุพระญาณอันใหญ่ด้วยพระอุตสาหะใหญ่ ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้มีพระมโนบริสุทธิ์ อันมนุษย์และเทวดาทั้งหลายพากันบูชาแล้ว
|
อาจารย์กล่าวไว้
ให้เสกดอกไม้ ทัดหูของตน มีสง่าราศี สวัสดีมงคล เสน่ห์เลิศล้น แก่คนทั้งหลาย (ภาวนาเสกดอกไม้ทัดหูเป็นเสน่ห์)
|
๔๐
|
สา.
|
สารัง เทตีธะ
สัตตานัง
สาเรติ อะมะตัง ปะทัง สาระถี วิยะ สาเรติ สาระธัมมัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
โปรดประทานธรรมอันเป็นแก่นสารแก่สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้
ยังสัตว์ทั้งหลายให้แล่นไปสู่ทางอมตะ ดังสารถียังม้าให้แล่นไปสู่ทางที่ประสงค์ฉะนั้น
ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีธรรมเป็นสาระ
|
ภาวนาให้มั่น
กันฝังอาถรรพ์ เวทย์มนต์ทั้งหลาย ทั้งกันกระทำ มิให้ต้องกาย อีกอาวุธร้าย
เมื่อเข้าณรงค์ (ภาวนาป้องกันอาถรรพ์ต่างๆ)
|
๔๑
|
ระ.
|
รัมมะตาริยะสัทธัมเม
รัมมาเปติ สะสาวะกัง รัมเม ฐาเน วะสาเปนตัง ระณะหันตัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงยินดีในอริยสัทธรรม ทรงยังสาวกของพระองค์ให้ยินดีด้วย ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ยังสาวกให้ได้อยู่ในฐานะอันน่ายินดี
ผู้กำจัดข้าศึกคือกิเลส
|
ใช้ภาวนา
ป้องกันสัตว์ป่า เสือช้างกลางดง ทั้งควายและวัว กระทิงตัวยง ไม่กล้าอาจอง
ตรงเข้าราวี (ภาวนาป้องกันสัตว์ร้าย เช่น เสือ ช้าง)
|
๔๒
|
ถิ.
|
ถิโต โย วะระนิพพาเน
ถิเร ฐาเน สะสาวะโก ถิรัง ฐานัง ปะกาเสติ ถิตัง ธัมเม นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
พร้อมทั้งสาวกของพระองค์ ทรงตั้งอยู่แล้วในฐานะอันมั่นคงคือพระนิพพาน
ทรงประกาศซึ่งฐานะอันมั่นคง (คือพระนิพพานนั้น) ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ตั้งอยู่ในธรรม
|
บทนี้กล้าหาญ
เสกข้าวรับประทาน คงกระพันชาตริ ศัตรูหมู่ภัย ไม่ร้ายราวี เป็นสง่าราศี
ไม่มีศัตรู (ภาวนาเสกข้าวกิน)
|
๔๓
|
สัต.
|
สัทธัมมัง
เทสะยิตวานะ
สันตะนิพพานะปาปะกัง สะสาวะกัง สะมาหิตัง สันตะจิตตัง นะมามิหัง |
ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งสาวกของพระองค์
ผู้ทรงแสดงพระสัทธรรมอันให้ถึงพระนิพพานอันรำงับแล้ว เป็นผู้ตั้งมั่นสงบระงับ
|
เมื่อจะไสยา
จงได้ภาวนา ตามคาคุณครู ป้องกันโจรร้าย ไม่มีศัตรู ที่จะมาขู่ ข่มเหงน้ำใจ (ภาวนาป้องกันโจรผู้ร้าย)
|
๔๔
|
ถา.
|
ถานัง
นิพพานะสังขาตัง
ถาเมนาธิคะโต มุนิ ถาเน สัคคะสิเว สัตเต ถาเปนตัง ตัง นะมามิหัง |
พระมุนีเจ้าพระองค์ใดได้บรรลุฐานะกล่าวคือพระนิพพานด้วยพระกำลังความเพียร
ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้ยังสัตว์ให้ตั้งอยู่ในฐานะทั้งที่เป็นสวรรค์และนิพพาน
|
ภาวนานึก
เมื่อจะออกศึก สงครามใดๆ แคล้วคลาดศาสตรา ไม่มาต้องได้ คุ้มครองกันภัย
ได้ดีนักหนา (ภาวนาเพื่อเข้าไปสู่สงคราม)
|
๔๕
|
เท.
|
เทนโต โย
สัคคะนิพพานัง
เทวะมะนุสสะปาณินัง เทนตัง ธัมมะวะรัง ทานัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ประทานสมบัติคือสวรรค์และพระนิพพานแก่หมู่สัตว์ทั้งเทวดาและมนุษย์ ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นเทพใหญ่ประทานพระธรรมเป็นทาน
|
บทนี้ก็เอก
ใช้สำหรับเสก ธูปเทียนบุปผา บูชาพระเจ้า พุทธัมสัมฆา จะมีสง่า ราศีผ่องใส (ภาวนาเสกเทียนเป็นสวัสดี)
|
๔๖
|
วะ.
|
วันตะราคัง
วันตะโทสัง
วันตะโมหัง อะนาสะวัง วันทิตัง เทวะพรหเมหิ มะหิตันตัง นะมามิหัง |
ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้คายราคะ คายโทสะ คายโมหะแล้ว หาอาสวะมิได้
อันเทวดาและพรหมทั้งหลายกราบไหว้แล้ว
|
บทนี้ดียิ่ง
ใช้เสกมาลี สิบเก้าคาบไซร้ เอามาทัดหู คนดูรักใคร่ บูชาพระไซร้ ย่อมเป็นมงคล (ภาวนาเสกดอกไม้ทัดหูเป็นเสน่ห์)
|
๔๗
|
มะ.
|
มะหะตา วิริเยนาปิ
มะหันตัง ปาระมิง อะกา มะนุสสะ เทวะพรหเมหิ มะหิตันตัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงสร้างพระบารมีอันใหญ่ด้วยพระวิริยะอันใหญ่เหมือนกัน ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้อันมนุษย์ เทวดาและพรหมทั้งหลายบูชาแล้ว
|
เมื่อลงนาวา
ขับขี่ช้างม้า ยาตราจรดล หรือขึ้นเรือนใหม่ อย่าได้ฉงน เสก 19 หน จะมีเดชา (ภาวนาขึ้นช้างลงม้า ขึ้นเรือนลงเรือน)
|
๔๘
|
นุส.
|
นุนะธัมมัง ปะกาเสนโต
นุทะนัตถายะ ปาปะกัง นุนะ ทุกขาธิปันนานัง นุทาปิตัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงประกาศธรรมอันแน่แท้
เพื่อบรรเทาเสียซึ่งบาปของสัตว์ทั้งหลายผู้จมทุกข์อยู่เต็มแปล้ ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้โปรดสัตว์ให้บรรเทาบาปของตนได้ด้วย
|
ภาวนาบ่น
ประเสริฐเลิศล้น อย่าได้กังขา ชนช้างก็ดี หรือขี่อาชา มีเดชแกล้วกล้า ไชยาสวัสดี (ภาวนาขึ้นช้างลงม้า
มีตบะเดชะ)
|
๔๙
|
สา.
|
สาวะกานังนุสาเสติ
สาระธัมเม จะ ปาณินัง สาระธัมมัง มะนุสสานัง สาสิตันตัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงพร่ำสอนสารธรรมแก่พระสาวกทั้งหลายและแก่สัตว์ทั่วไปด้วย ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงสอยธรรมอันเป็นสาระแก่มนุษย์ทั้งหลาย
|
บทนี้ดีมาก
เมื่อจะกินหมาก เสก ๑๗ ที ทั้งแป้งน้ำมัน จวงจันทร์มาลี ทัดกรรณก็ดี
มีเสน่ห์ยิ่งยง (ภาวนาเสกเมื่อกินเส้น)
|
๕๐
|
นัง.
|
นันทันโต วะระสัทธัมเม
นันทาเปติ มะหามุนิ นันทะภูเตหิ เทเวหิ นันทะนียัง นะมามิหัง |
พระมหามุนีเจ้าพระองค์ใด
ทรงยินดีในพระสัทธรรม ทรงยังสัตว์ทั้งหลายให้ยินดีด้วย ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระมหามุนีเจ้าพระองค์นั้น
ผู้ที่เทวดาทั้งหลายซึ่งเป็นพวกชอบหาที่เพลิดเพลินยินดี พึงนิยมยินดีในพระองค์
|
บทนี้เลิศล้ำ
เสกลูกประคำ สังวาลสวมองค์ ตะกรุดพิศมร ๑๙ คาบตรง มีเดชมั่นคง ราศีผ่องใส (ภาวนาเสกประคำสังวาลย์)
|
๕๑
|
พุท.
|
พุชฌิตาริยะสัจจานิ
พุชฌาเปติ สะเทวะกัง พุทธะญาเณหิ สัมปันนัง พุทธัง สัมมา นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ตรัสรู้อริยสัจแล้ว ยังมนุษย์และเทวดาให้รู้ด้วย ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระพุทธญาณทั้งหลาย
ตรัสรู้โดยชอบแล้ว
|
ภาวนาบทนี้
เมื่อจะจรลี สู่บ้านเมืองไกล ป้องกันสรรพเหตุ เภทภัยใดๆ มีคุณยิ่งใหญ่
แก่ผู้ภาวนา (ภาวนาเมื่อเข้าบ้านเข้าเมือง กันภัยทั้งปวง)
|
๕๒
|
โธ.
|
โธวิตัพพัง มะหาวีโร
โธวันโต มะละมัตตะโน โธวิโต ปาณินัง ปาปัง โธตะเกลสัง นะมามิหัง |
พระมหาวีรเจ้าพระองค์ใด
ทรงล้างมลทินที่พึงล้างของพระองค์ ทรงล้างความลามกของสัตว์ทั้งหลายด้วย ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระมหาวีรเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีเครื่องเศร้าหมองอันล้างแล้ว
|
บทนี้เป็นเอก
สำหรับปลุกเสก เครื่องลางนานา ประสิทธิทุกอย่าง อีกทั้งมนตรา ๗ ทีบัดดล (ภาวนาเสกทั้งปวง)
|
๕๓
|
ภะ.
|
ภะยะมาปันนะสัตตานัง
ภะยัง หาเปติ นายะโก ภะเว สัพเพ อะติกกันโต ภะคะวันตัง นะมามิหัง |
พระผู้นำพระองค์ใดทรงยังความกลัวของสัตว์ทั้งหลายผู้ต้องภัยให้หาย
ทรงก้าวล่วงเสียซึ่งภพทั้งปวง ข้าฯ ขอนอบน้อมพระผู้นำพระองค์นั้นผู้มีโชค
|
บทนี้ดีล้นค่า
ใช้เสกศาสตรา อาวุธคู่ตน นิราศผองไพร มิได้ต้องตน เสก ๑๙ หน ตนจะอาจหาญ
(ภาวนาเสกอาวุธทั้งปวง)
|
๕๔
|
คะ.
|
คะหิโต เยนะ สัทธัมโม
คะตัญญาเณนะ ปาณินัง คะหะณิยัง วะรัง ธัมมัง คัณหาเปนตัง นะมามิหัง |
พระสัทธรรมอันพระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ผู้มีพระญาณลุล่วงตรัสไว้แล้ว ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้ทรงยังสัตว์ทั้งหลายให้รับเอาธรรมที่ควรรับเอาอย่างประเสริฐ
|
บทนี้ภาวนา
เมื่อจะเข้าหา สมณาจารย์ ท่านมีเมตตา กรุณาสงสาร ล้วนมงคลการ ประเสริฐเลิศล้น
(ภาวนาไปสู่พระยา สมณชีพราหมณาจารย์)
|
๕๕
|
วา.
|
วาปิตัง ปะวะรัง
ธัมมัง
วานะโมกขายะ ภิกขุนัง วาสิตัง ปะวะเร ธัมเม วานะหันตัง นะมามิหัง |
ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้า ผู้ทรงหว่านพระธรรมอันประเสริฐแก่ภิกษุทั้งหลาย
เพื่อให้พ้นจากวานะคือตัณหา ผู้อบรมแล้วในธรรมอันประเสริฐ ผู้กำจัดวานะคือตัณหา
|
เข้าหาขุนนาง
แม้ใจกระด้าง โอนอ่อนบัดดล จงได้ภาวนา ท่านเมตตาตน กรุณาเลิศล้น อย่าแหนงแคลงใจ
(ภาวนาเข้าสู่คนแข็ง ก็อ่อนแล)
|
๕๖
|
ติ.
|
ติณโณ โย สัพพะปาเปหิ
ติณโณ สัคคา ปะติฏฐิโต ติเร นิพพานะสังขาเต ติกขะญาณัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงข้ามไปจากบาปทั้งปวง ทรงข้ามจากแม่น้ำ
ประดิษฐานอยู่บนฝั่งคือพระนิพพานได้แล้ว ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้มีพระญาณคมกล้า
|
ภาวนาบทนี้
เหมือนดั่งมณี หาค่ามิได้ เจริญทุกวัน ป้องกันโรคภัย ทุกโศกฤษัย
ศูนย์หายสิ้นเอย(เป็นคาถาสรุปไม่มีอุปเทศ).
|
ฉัปปัญญาสะ พุทธะคาถา พุทธะคุณา สุคัมภิรา
เอเตสะมานุภาเวนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา.
คำแปล พระพุทธคาถารวม ๕๖ บท แสดงพระพุทธคุณลึกซึ้ง ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธคุณทั้งหลาย ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้า ฯ ในกาลทั้งปวง เทอญ.
พระธรรมคุณ ๓๘
"สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ"
พระธรรมคุณ ๓๘
|
คำแปลพระอิติปิโสรัตนมาลา
|
||
๑
|
สะวาก.
|
สะวาคะตันตัง สิวัง
รัมมัง
สะวานะยัง ธัมมะเทสิตัง สะวาหุเนยยัง ปุญญักเขตตัง สะวาสะภันตัง นะมามิหัง. |
พระนิพพานนั้น
เป็นธรรมควรยินดี อันพระพุทธเจ้า ได้ทรงลุถึงมาดีแล้ว
ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมอันเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ พระสงฆ์นำสืบมาด้วยดี ควรบูชาอย่างดี เป็นบุญเขตอันประเสริฐแท้. |
๒
|
ขา.
|
ขาทันโต โย สัพพปาปัง
ขายิโต โย จะ มาธุโร ขายันตัง ติวิธัง โลกัง ขายิตันตัง นะมามิหัง. |
พระธรรมใดกัดกิน
(คือทำลาย) ซึ่งบาปทั้งปวง พระธรรมอันหวานชื่นใด พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้ว. ข้าฯ
ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันกิน (คือครอบงำ) โลกทั้ง ๓ มนุษย์ เทวโลก พรหมโลก
ไว้ปรากฏเด่นอยู่.
|
๓
|
โต.
|
โตเสนโต
สัพพะสัตตานัง
โตเสติ ธัมมะเทสะนัง โตสะจิตตัง สะมิชฌันตัง โตสิตันตัง นะมามิหัง. |
พระธรรมใด
ปลุกปลอบสรรพสัตว์ ให้ยินดีฟังพระธรรมเทศนา ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น
อันยังสัตว์ผู้มีจิตยินดีในธรรมให้เจริญ ยังสัตว์ให้แช่มชื่น.
|
๔
|
ภะ.
|
ภัคคะราโต ภัคคะโทโส
ภัคคะโมโห อะนุตตะโร ภัคคะกิเลสะสัตตานัง ภะคะวันตัง นะมามิหัง. |
พระธรรมใด หักราคะ
หักโทสะ หักโมหะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น
อันเป็นที่เคารพ ของสัตว์ผู้มีกิเลสอันหักแล้ว.
|
๕
|
คะ.
|
คัจฉันโต รัมมะเก
สิเว
คะมาปิโต สะเทวะเก คัจฉันเต พรัหมะจะริเย คัจฉันตันตัง นะมามิหัง. |
พระธรรมใด
ดำเนินไปในพระนิพพานอันน่ายินดี
ยังมนุษย์กับทั้งเทวดาผู้ประพฤติพรหมจรรย์ให้ดำเนินไปถึงพระนิพพานนั้น ข้าฯ
ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันดำเนินไปอย่างนั้น.
|
๖
|
วะ.
|
วันตะราคัง
วันตะโทสัง
วันตะโมหัง วันตะปาปะกัง ตาเรนตัง โมฆะสังสารัง ตาเรนตันตัง นะมามิหัง. |
ข้าฯ ขอนอบน้อม
พระธรรมอันคายราคะ คายโทสะ คายโมหะ คายบาป คายความโงและคายโทษทั้งหลาย
มีความอยากเป็นต้น คายกิเลสเครื่องร้อยรัด.
|
๗
|
ตา.
|
ตาเรสิ สัพพะสัตตานัง
ตาเรสิ โอริมัง ติรัง ตาเรนตัง โอฆะสังสารัง ตาเรนตันตัง นะมามิหัง. |
พระธรรมใดยังสรรพสัตว์ให้ข้าม
(สังสารสาคร) ให้ข้ามฝั่งใน (พาไปสู่ฝั่งนอก คือพระนิพพาน)ข้าฯ ขอนอบน้อม
พระธรรมนั้น ผู้ช่วยให้สัตว์ข้ามพ้นโอฆะสงสารได้.
|
๘
|
ธัม.
|
ธะระมาเนปิ สัมพุทเธ
ธัมมัง เทสัง นิรันตะรัง ธะเรติ อะมะตัง ฐานัง ธาเรนตันตัง นะมามิหัง. |
แต่ครั้งสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้น
พระองค์ทรงแสดงพระธรรมใดไว้มิได้ขาด พระธรรมใดทรงไว้ซึ่งฐานะอันเป็นอมตะ. ข้าฯ
ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันเป็นสภาพทรงอยู่.
|
๙
|
โม.
|
โมหัญเญ ทะมันโต
สัตเต
โมหะชิเต อะการะยิ โมหะชาเต ธัมมะจารี โมหะชิตัง นะมามิหัง. |
พระธรรมใด
ฝึกฝนสัตว์ทั้งหลายที่ลุ่มหลง ทำให้เป็นผู้ชนะความหลงได้
ยังสัตว์ผู้เกิดมาด้วยความหลง ให้ประพฤติธรรม ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น
อันครอบงำความหลงได้.
|
๑๐
|
สัพ.
|
สัพพะสัตตะตะโมนุโท
สัพพะโสกะวินาสะโก สัพพะสัตตะหิตักกะโร สัพพะสันตัง นะมามิหัง. |
พระธรรมใด บรรเทาความมืด
ของสัตว์ทั้งปวง ยังความโศกทั้งปวง ให้เสื่อมหาย ก่อประโยชน์เกื้อกูล
แก่สรรพสัตว์ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันเป็นสภาพสงบเย็น ด้วยประการทั้งปวง.
|
๑๑
|
ทิฏ.
|
ทิฏเฐ ธัมเม
อะนุปปัตโต
ทิฏฐิกังขาทะโย ลุโต ทิฏฐิ ทะวาสัฏฐิ ฉันทันโต ทิฏฐะธัมมัง นะมามิหัง. |
พระธรรมใด ผู้มีปัญญา
บรรลุถึงได้โดยลำดับ ในทิฏฐธรรมนี้ ตัดเสียซึ่งโทษทั้งหลาย มีความเห็นผิด
และความเคลือบแคลงสงสัยเป็นต้น ตัดทิฏฐิ ๖๒ ได้ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น
อันพระพุทธเจ้าทรงเห็นแล้ว.
|
๑๒
|
ฐิ.
|
ฐิติสีละสะมาจาเร
ฐิติเตวะสะธุตังคะเก ฐิติธัมเม ปะติฏฐาติ ฐิติปะทัง นะมามิหัง. |
พระอริยะ
ย่อมตั้งอยู่ในฐิติธรรม (ธรรมคือความคงสภาพอยู่)
คือในศีลและจรรยามารยาทที่ดีอันเป็นฐิติ ในธุดงค์ ๑๓ อันเป็นฐิติ ข้าฯ ขอนอบน้อม
พระธรรมนั้น อันเป็นเครื่องถึงฐิติ.
|
๑๓
|
โก.
|
โกกานัง ราคัง ปิเฬติ
โกโธปิ ปะฏิหัญญะติ โกกานัง ปูชิโต โลเก โกกานันตัง นะมามิหัง. |
พระธรรมใด
เปลี่ยนเสียซึ่งความรัก ของคนทั้งหลายผู้ยึดถือ แม้ความโกรธก็กำจัดเสียด้วย
เป็นสิ่งซึ่งคนที่ยังยึดถือ ก็บูชาอยู่ในโลกนี้ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น
อันเป็นที่สิ้นสุดแห่งความยึดถือ.
|
๑๔
|
อะ.
|
อัคโค เสฏโฐ วะระธัมโม
อัคคะปัญโญ ปะพุชฌะติ อัคคัง ธัมมัง สุนิปุณัง อัคคันตังวะ นะมามิหัง. |
พระธรรม เป็นของเลิศ
ประเสริฐสุด ผู้มีปัญญาเลิศ ย่อมตรัสรู้ธรรมอันละเอียดเลิศได้ ข้าฯ ขอนอบน้อม
พระธรรมนั้น อันเลิศนั้นแล.
|
๑๕
|
กา.
|
กาเรนโต โย สิวัง
รัชชัง
กาเรติ ธัมมะจาริเย กาตัพพะสุสิกขากาเม กาเรนตันตัง นะมามิหัง. |
พระธรรมใด
เมื่อยังสัตว์ให้ทำราชัย คือพระนิพพาน ย่อมยังสัตว์ผู้ประพฤติธรรมให้ทำ ข้าฯ
ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันยังสัตว์ผู้ใคร่ในการศึกษาดี
ที่ตนพึงทำให้ทำสิวราชัยนั้น.
|
๑๖
|
ลิ.
|
ลิโต โย สัพพะทุกขานิ
ลิขิโต ปิฏะกัตตะเย ลิมปิเตปิ สุวัณเณนะ ลิตันตังปิ นะมามิหัง. |
พระธรรมใด
บำบัดเสียซึ่งทุกข์ทั้งปวง ท่านลิขิตไว้ในคัมภีร์พระไตรปิฏก
ซึ่งปิดทองไว้สวยงามก็มิได้ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันบำบัดทุกข์ได้จริง.
|
๑๗
|
โก.
|
โก สะทิโสวะ ธัมเมนะ
โก ธัมมัง อะภิปูชะยิ โก วินทะติ ธัมมะระสัง โกสะลันตัง นะมามิหัง. |
สภาพอะไร
ที่เสมอด้วยพระธรรม (มีหรือ) ใครบูชาพระธรรมอย่างยิ่ง ใครได้ประสบธรรมรส ข้าฯ
ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันทำกุศลให้เป็นผู้ฉลาด.
|
๑๘
|
เอ.
|
เอสะติ พุทธะวะจะนัง
เอสะติ ธัมมะมุตตะมัง เอสะติ สัคคะโมกขัญจะ เอสะนันตัง นะมามิหัง. |
บัณฑิตย่อมแสวงหาพระพุทธวจนะ
ย่อมแสวงหาธรรมอย่างสูง ย่อมแสวงหาสวรรค์และนิพพาน ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น
อันเป็นที่แสวงหาแห่งบัณฑิต.
|
๑๙
|
หิ.
|
หิเน ฐาเน นะ ชายันเต
หิเน โถเมติ สุคะติง หิเน โมหะสะมัง ชาลัง หินันตังปิ นะมามิหัง. |
พระธรรมใด
ไม่ยังสัตว์ให้เกิดในฐานะที่ต่ำทราม ยังคนชั้นต่ำ (ที่ทำดี) ให้ได้ชมสุคติก็ได้
ละกิเลสดุจข่าย (ที่เหนียวแน่น) เสมอโมหะก็ได้ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น
อันเป็นที่สิ้นสุดความเลวทราม.
|
๒๐
|
ปัส.
|
ปะกะโต โพธิสัมภาเร
ปะสัฏโฐ โย สะเทวะเก ปัญญายะ นะ สะโม โหติ ปะสันโน ตัง นะมามิหัง. |
พระธรรมใด
ก่อสร้างโพธิสมภาร อันเทวดาและมนุษย์ยกย่องแล้ว ในโลกนี้กับทั้งเทวโลก
สิ่งที่ผ่องใสเสมอด้วยปัญญาหามิได้ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น.
|
๒๑
|
สิ.
|
สีเลนะ สุคะติง ยันติ
สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ สีละธัมมัง นะมามิหัง. |
คนทั้งหลายไปสุคติด้วยศีล
ความถึงพร้อมแห่งโภคทรัพย์ ย่อมมีด้วยศีล ถึงความดับทุกข์ได้ก็ด้วยศีล ข้าฯ
ขอนอบน้อม พระธรรม คือ ศีล.
|
๒๒
|
โก.
|
โก โส อัคคะปุญโญ
พุทโธ
โกธะชะหัง อะธิคัจฉะติ โก ธัมมัญจะ วิชานาติ โกธะวันตัง นะมามิหัง. |
พระพุทธเจ้าองค์ใดนั้น
เป็นผู้มีบุญเลิศ ทรงลุถึงพระธรรม ที่ละความโกรธได้ พระพุทธเจ้าไรเล่า
ทรงรู้แจ้งพระธรรม ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันคายความโกรธได้.
|
๒๓
|
โอ.
|
โอภะโต สัพพะกิเลสัง
โอภัญชิโต สัพพาสะวัง โอภะโต ทิฏฐิชาลัญจะ โอภะตัง ตัง นะมามิหัง. |
พระธรรมใด
ทำลายกิเลสทั้งปวงได้ หักอาสวะทั้งปวงเสีย และรื้อข่าย คือทิฏฐิเสียด้วย ข้าฯ
ขอน้อมน้อม พระธรรมนั้น อันเป็นสภาพรื้อกิเลส.
|
๒๔
|
ปะ.
|
ปัญญา ปะสัฏฐา
โลกัสมิง
ปัญญา นิพเพธะคามินี ปัญญายะ นะ สะโม โหติ ปะสันโน ตัง นะมามิหัง. |
ปัญญาเป็นสิ่งที่คนฉลาดสรรเสริญในโลก
ปัญญาทำให้ถึงความรู้แจ้งแทงตลอด สิ่งที่ผ่องใสเสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มี ข้าฯ
ขอนอบน้อม พระธรรม คือ ปัญญานั้น.
|
๒๕
|
นะ.
|
นะรานะระหิตัง ธัมมัง
นะระเทเวหิ ปูชิตัง นะรานัง กามะปังเกหิ นิมิตันตัง นะมามิหัง. |
าฯ ขอนอบน้อม พระธรรม
อันเป็นประโยชน์เกื้อกูล แก่มนุษย์และอมนุษย์ อันมนุษย์และเทวดาทั้งหลายบูชา
เหนี่ยวรั้งคนทั้งหลาย ให้พ้นจากหล่มคือกามนั้น.
|
๒๖
|
ยิ.
|
ยิชชะเต สัพพะสัตานัง
ยิชชะเต เทวะพรัหมุนี ยิชชิสสะเต ปาณีหิ ยิฏฐันตัมปิ นะมามิหัง. |
พระธรรมใด
อันสัตว์ทั้งปวงบูชา เทวดาและพรหมก็บูชา และสัตว์ทั้งหลายจักบูชาต่อไป ข้าฯ
ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันสัตว์ทั้งหลายบูชาทั่วกัน.
|
๒๗
|
โก.
|
โกปัง ชะหะติ ปาปะกัง
โกธะโกธัญจะ นาสะติ โกธัง ชะเหติ ธัมเมนะ โกธะนุทัง นะมามิหัง |
พระธรรมใด
ละความโกรธอันเป็นความชั่วเสียได้ และทำความโกรธของคนโกรธให้หาย บุคคลย่อมละความโกรธได้ด้วยธรรม
ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรม อันบรรเทาความโกรธได้นั้น.
|
๒๘
|
ปัจ.
|
ปะปัญจาภิระตา ปะชา
ปะชปหิตา ปาปะกา จะ โย ปัปโปติ โสติวิปุโล ปัชโชตันตัง นะมามิหัง. |
หมู่สัตว์ยินดียิ่งนักในปัญจธรรม
(คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ที่ถ่วงสัตว์ให้ชักช้าอยู่ในสังสารวัฏ) บาปธรรม
(เครื่องถ่วงสัตว์) ทั้งหลายนั้น อันพระธรรมใดละได้แล้วแท้ ผู้ใดถึงพระธรรมนั้น
ผู้นั้นย่อมเป็นผู้ไพบูลย์ (ใหญ่) ยิ่ง. ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันเป็นสภาพสว่างไสว.
|
๒๙
|
จัต.
|
จะริตวา
พรัหมะจะริยัง
จัตตาสะโว วิสุชฌะติ จะชาเปนตังวะ ทาเนนะ จะชันตันตัง นะมามิหัง. |
บุคคลผู้สละอาสวะได้
เพราะประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมหมดจด ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันเป็นสภาพสละ
ยังสัตว์ให้สละด้วยการให้ทาน.
|
๓๐
|
ตัง.
|
ตะโนติ กุสะลัง กัมมัง
ตะโนติ สัพพะวิริยัง ตะโนติ สีละสะมาธิง ตะนันตังวะ นะมามิหัง. |
พระธรรมใด
แผ่การกระทำที่เป็นกุศลออกไปขยายความเพียร ละบาปบำเพ็ญบุญทุกอย่างออกไปเผยศีล
สมาธิ (ปัญญา) ให้ปรากฏออกไป ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น
อันเป็นสภาพแผ่ผายไม่ปกปิด.
|
๓๑
|
เว.
|
เวรานิปิ นะ พันธันติ
เวรัง เตสูปะสัมมะติ เวรัง เวเรนะ เวรานิ เวระสันตัง นะมามิหัง. |
แม้นชนเหล่าใดไม่ผูกเวรไว้
เวรของชนเหล่านั้นย่อมระงับไป เวรทั้งหลายเป็นไปก็เพราะจองเวรกัน ข้าฯ ขอนอบน้อม
พระธรรมอันเป็นสภาพสงบเวร.
|
๓๒
|
ทิ.
|
ทีฆายุโก พะหูปุญโญ
ทีฆะรัตตัง มะหัพพะโล ทีฆะสุเขนะ ปุญเญนะ ทีฆะรัตตัง นะมามิหัง. |
พระธรรม
เป็นสภาพมีอายุยืน มีบุญมาก มีกำลังใหญ่ อยู่ตลอดกาลนาน ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรม
อันยืนนานอยู่ด้วยบุญ ที่ให้เกิดสุขยั่งยืน.
|
๓๓
|
ตัพ.
|
ตะโต ทุกขา
ปะมุญจันโต
ตะโต โมเจติ ปาณิโน ตะโต ราคาทิเกลเสหิ ตะโตโมกขัง นะมามิหัง. |
พระธรรมใด
เป็นสภาพหลุดพ้นจากทุกข์นั้น แต่นั้นยังสัตว์ทั้งหลาย
ให้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลาย มีราคะเป็นต้นด้วย ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรม
คือความหลุดพ้น จากกิเลสและทุกข์นั้น.
|
๓๔
|
โพ.
|
โพธิ วิชชา อุปาคะมิ
โพเธติ มัคคะผะลานิ จะ โพธิยา สัพพะธัมมานัง โพธิยันตัง นะมามิหัง. |
พระธรรม คือปัญญา
เป็นเครื่องตรัสรู้ สัตว์ให้เข้าถึงวิชชา และยังสัตว์ให้ตรัสรู้มรรคผลทั้งหลาย
ข้าฯ ขอนอบน้อม ความเป็นสภาพยังสัตว์ให้ตรัสรู้ธรรมทั้งปวงทั้งหลาย แห่งพระธรรม
คือ ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้.
|
๓๕
|
วิญ.
|
วิระติ สัพพะทุกขัสมา
วิริเยเนวะ ทุลละภา วิริยาตาปะสัมปันนา วิระตันตัง นะมามิหัง. |
ความเว้นจากทุกข์ทั้งปวง
จะมีได้ด้วยความเพียรเท่านั้น บุคคลที่ถึงพร้อมด้วยความเพียร เผากิเลสหาได้ยาก
ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันเป็นสภาพเว้นทุกข์.
|
๓๖
|
ญู.
|
ญูตัญญาเณหิ
สัมปันนัง
ญูตะโยคัง สะมัปปิตัง ญูตัญญาณะทัสสะนัญจะ ญูตะโยคัง นะมามิหัง. |
ข้าฯ ขอนอบน้อม
พระธรรม อันเป็นสภาพถึงพร้อมด้วยพระ (สัพพัญญุต) ญาณเพียบพร้อมด้วยโยคะ
(ความเพียรประกอบ) เพื่อญาณนั้น ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรม
คือตัวความรู้และความเพียรนั้น.
|
๓๗
|
หี.
|
หีสันติ สัพพะโทสานิ
หีสันติ สัพพะภะยานิ จะ หีสะโมหา ปะฏิสสะตา หีสันตันตัง นะมามิหัง. |
ผู้มีสติ
เบียนโมหะเสียได้ ย่อมเบียนโทษทั้งปวงและเบียนภัยทั้งปวงได้ ข้าฯ ขอนอบน้อม
พระธรรมนั้น อันเป็นสภาพเบียนโทษและภัย.
|
๓๘
|
ติ.
|
ติณโณ โย
วัฏฏะทุกขัมหา
ติณณัง โลกานะมุตตะโม ติสโส ภูมี อะติกกันโต ติณณะโอฆัง นะมามิหัง. |
พระธรรมใด
ข้ามจากวัฏฏทุกข์ได้ เป็นสภาพสูงสุด แห่งไตรโลก ล่วงเสียซึ่งไตรภูมิ ข้าฯ
ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันข้ามโอฆะได้.
|
อัฏฐัตติงสะ ธัมมะคาถา ธัมมะคุณา สุคัมภิรา
เอเตสะมานถภาเวนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา.
คำแปล พระธรรมคาถารวม ๓๘ บท แสดงพระธรรมคุณลึกซึ้ง ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมคุณทั้งหลายนั้น ขอความสวัสดีจงมีแก่ ข้าฯ ในกาลทั้งปวง เทอญ.
พระสังฆคุณ ๑๔
"สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ"
พระสังฆคุณ ๑๔
|
คำแปลพระอิติปิโสรัตนมาลา
|
||
๑
|
สุ.
|
สุทธะสีเลนะ สัมปันโน
สุฏฐุ โย ปะฏิปันนะโก สุนทะโร สาสะนะกะโร สุนทะรันตัง นะมามิหัง. |
พระสงฆ์ใด
ถึงพร้อมด้วยศีลอันหมดจด เป็นผู้ปฏิบัติดี เป็นผู้ทำตามคำสอนดี ข้าฯ ขอนอบน้อม
พระสงฆ์นั้นซึ่งเป็นผู้ดี.
|
๒
|
ปะ.
|
ปะฏิสัมภิทัปปัตโต โย
ปะสัฏโฐ วะ อะนุตตะโร ปัญญายะ อุตตะโร โลเก ปะสัฏฐันตัง นะมามิหัง. |
พระสงฆ์ใด
เป็นผู้ถึงปฏิสัมภิทา อันบัณฑิตสรรเสริญเป็นเยี่ยมแท้ ท่านเป็นผู้ยิ่งด้วยปัญญา
ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ผู้น่าสรรเสริญในโลก.
|
๓
|
ฏิ.
|
ติตถะกะระชิโต สังโฆ
ติตโถ ธีโรวะ สาสะเน ติตถิโย พุทธะวะจะเน ติตถันตังปิ นะมามิหัง. |
พระสงฆ์ชนะเจ้าลัทธิต่าง
ๆ เป็นครูผู้มีปัญญาในพระศาสนาแท้ เป็นเจ้าท่าในพระพุทธวจนะ ข้าฯ ขอนอบน้อม
พระสงฆ์นั้น แม้ผู้เป็นดุจท่า.
|
๔
|
ปัน.
|
ปะสัฏโฐ ธัมมะคัมภีโร
ปัญญะวา จะ อะวังกะโค ปัสสันโต อัตถะธัมมัญจะ ปะสัฏฐังปิ นะมามิหัง. |
พระสงฆ์ใดทรงธรรมอันลึก
น่าสรรเสริญ ฉลาดและซื่อตรง เห็นอรรถ เห็นธรรม ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น
ผู้น่าสรรเสริญแท้.
|
๕
|
โน.
|
โน เจติ กุสะลัง
กัมมัง
โน จะ ปาปัง อะการะยิ โนนะตัง พุชฌะตัง ธัมมัง โนทิสันตัง นะมามิหัง. |
พระสงฆ์ใด
ไม่สร้างกุศลธรรม ทั้งไม่บาปด้วย (คือละทั้งบุญทั้งบาป) รู้ธรรมอันไม่ทราม ข้าฯ
ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ผู้ไม่เป็นศัตรูกับใคร.
|
๖
|
ภะ.
|
ภัคคะราโต ภัคคะโทโส
ภัคคะโมโห จะ ปาณินัง ภัญชะโก สัพพะเกลสานัง ภะคะวันตัง นะมามิหัง. |
พระสงฆ์ใด
เป็นผู้หักราคะ หักโทสะ หักโมหะแล้ว และช่วยหักกิเลสทั้งปวง
ของสัตว์ทั้งหลายด้วย ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ซึ่งเป็นผู้มีโชค.
|
๗
|
คะ.
|
คัจฉันโต โลกิยัง
ธัมมัง
คัจฉันโต โลกุตตะรัมปิจะ คะโตเยวะ กิเลเสหิ คะมิตันตัง นะมามิหัง. |
พระสงฆ์ใด
ได้บรรลุทั้งโลกิยธรรม ทั้งโลกุตตรธรรม เป็นผู้ไปเสียจากเครื่องเศร้าหมอง
ทั้งหลายเทียว ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ผู้ไป (เสียจากเครื่องเศร้าหมอง)
แล้ว.
|
๘
|
วะ.
|
วัณเณติ กุสะลัง
ธัมมัง
วัณเณติ สีละสัมปะทัง วัณเณติ สีละรักขิตัง วัณณิตันตัง นะมามิหัง. |
พระสงฆ์ใด
สรรเสริญกุศลธรรม สรรเสริญความถึงพร้อมแห่งศีล สรรเสริญผู้รักษาศีล ข้าฯ
ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ผู้สรรเสริญธรรมอันควรสรรเสริญ.
|
๙
|
โต.
|
โตเสนโต เทวะมานุสเส
โตเสนโต ธัมมะมะเทสะยิ โตเสติ ทุฏฐะจิตเตปิ โตเสนตันตัง นะมามิหัง. |
พระสงฆ์ใด
ยังเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายให้ยินดี (ในธรรม) แสดงธรรมให้พอใจ (คนฟัง)
ยังคนที่แม้เป็นคนคิดร้าย ให้กลายกลับเป็นยินดีพอใจ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น
ผู้ปลุกปลอบใจคน.
|
๑๐
|
สา.
|
สาสะนัง
สัมปะฏิจฉันโน
สาสันโต สิวะคามินัง สาสะนะมะนุสาสันโต สาสันตันตัง นะมามิหัง. |
พระสงฆ์ใด
รับเอาพระศาสนาไว้ แนะนำทางไปนิพพาน พร่ำสอนพระศาสนาอยู่เสมอ ข้าฯ ขอนอบน้อม
พระสงฆ์นั้น ผู้แนะนำสั่งสอน.
|
๑๑
|
วะ.
|
วันตะราคัง
วันตะโทสัง
วันตะโมหัง สุทิฏฐิกัง วันตัญจะ สัพพะปาปานิ วันตะเกลสัง นะมามิหัง. |
ข้าฯ
ขอนอบน้อมพระสงฆ์ ผู้มีความเห็นชอบ คายราคะ คายโทสะ คายโมหะ คายกิเลส.
|
๑๒
|
กะ.
|
กะโรนโต สีละสะมาธิง
กะโรนโต สาระมัตตะโน กะโรนโต กัมมะฐานานิ กะโรนตันตัง นะมามิหัง. |
พระสงฆ์ใด บำเพ็ญศีล
สมาธิ (ปัญญา) สร้างสาระของตนขึ้น ทำพระกรรมฐานต่าง ๆ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น
ผู้เป็นนักทำ.
|
๑๓
|
สัง.
|
สังสาเร
สังสะรันตานัง
สังสาระโต วิมุจจิ โส สังสาระทุกขา โมเจสิ สังสุทธันตัง นะมามิหัง. |
เมื่อสัตว์ทั้งหลายมัวท่องอยู่ในสงสาร
พระสงฆ์ท่านหลุดพ้นจากสงสารไปแล้ว ยังช่วยสัตว์ทั้งหลาย
ให้พ้นจากทุกข์ในสงสารด้วย ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ผู้บริสุทธิ์พร้อม.
|
๑๔
|
โฆ.
|
โฆระทุกขักขะยัง
กัตวา
โฆสาเปติ สุรัง นะรัง โฆสะยิ ปิฏะกัตตะยัง โฆสะกันตัง นะมามิหัง. |
พระสงฆ์ใดทำความสิ้นทุกข์
อันเป็นสิ่งพึงกลัว (แก่เทวดามนุษย์) แล้ว
ยังเทวดามนุษย์ให้ช่วยกันโฆษณาประกาศพระไตรปิฏก ข้าฯ ขอนอบน้อมพระสงฆ์นั้น
ผู้เป็นนักโฆษณา.
|
จะตุททะสะ สังฆะคาถา สังฆะคุณา สุคัมภืรา เอเตสะมานุภาเวนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา
ฉัปปัญญาสะ พุทธะคุณา ธัมมะคุณา อัฏฐะติงสะติ สังฆะคุณา จะตุททะสะ อัฏฐุตตะระสะเต อิเม
ทิเน ทิเน สะระเตปิ โสตถี โหนติ นิรันตะรันติ.
คำแปล พระสังฆคาถา ๑๔ แสดงพระสังฆคุณลึกซึ้ง ด้วยอนุภาพแห่งพระสังฆคุณ เหล่านั้น ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าฯ ในกาลทั้งปวง.
*
คาถาเหล่านี้เรียกว่า พระคาถารัตนมาลา
ผู้ที่จะใช้ต้องภาวนาตามอุปเทศที่โบราณาจารย์กล่าวไว้เพื่อป้องกันภยันตรายต่างๆ
จะอยู่กับบ้านเรือนหรือสัญจรไปไหน พยายามภาวนาไว้ให้ขึ้นปากขึ้นใจ
จนจิตมั่นคงเป็นสมาธิภาวนาจะได้รับผลานิสงส์ทุกทพาราตรีกาล.
แสดงความคิดเห็น