ธรรม และเพลงบูชา :

กะระณียะเมตตะสูตร ทำนองสรภัญญะ

กะระณียะเมตตะสูตร ทำนองสรภัญญะ 

 

 กะระณียะเมตตะสูตร ทำนองสรภัญญะ 

ตำนานกะระณียะเมตตะสูตร 🔥 พระปริตรนี้ ตามตำนานเบื้องต้นกล่าวเนื้อความว่า

พระภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ในพระนครสาวัตถี ได้เรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดา แล้วไปหาที่สงัดเงียบสำหรับเจริญวิปัสสนาไปได้สิ้นทางประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชาวบ้านเหล่านั้นได้เห็นพระภิกษุก็มีความยินดีนิมนต์ให้นั่งบนอาสนะที่สมควร แล้วอังคาส* ด้วยข้าวยาคูเป็นต้น แล้วถามว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจะไป ณ ที่แห่งใด เมื่อได้รับคำตอบว่าจะไปหาที่สบายสำหรับเจริญสมณธรรมตลอดไตรมาส ชนเหล่านั้นจึงกล่าวว่า จากที่นี้ไปไม่สู้ไกลนัก ที่ป่าชัฏเป็นที่สงัดเงียบ ขอนิมนต์พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จงเจริญสมณธรรมในที่นั้นตลอดไตรมาสเถิด ข้าพเจ้าทั้งหลายจะขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะและรักษาศีลในสำนักของพระผู้ เป็นเจ้าทั้งหลาย พระภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์แล้ว ก็เข้าไปอาศัยอยู่ในป่านั้นและเจริญสมณธรรมอยู่ที่นั้น 🔥 พฤกษาเทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไม้ในป่านั้นคิดว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมาอาศัยอยู่ที่โคนต้นไม้แห่งเรา ตัวเราและบุตรภรรยาของเราจะอยู่บนต้นไม้นี้หาสมควรไม่ จะไม่เป็นการเคารพท่าน จึงพากันลงจากต้นไม้นั่งอยู่เหนือพื้นดิน นัยหนึ่งว่า เพราะอำนาจที่ภิกษุเจริญสมณธรรมพฤกษเทวดาเหล่านั้นจึงไม่อาจอยู่บนต้นไม้ได้ ด้วยสำคัญว่า พระผู้เป็นเจ้าพักอยู่ในที่นั้นคืนหนึ่งแล้วก็จักไปในวันรุ่งขึ้น พระภิกษุเที่ยวบิณฑบาตภายในหมู่บ้านแล้วก็กลับมาสู่ป่าชัฏตามเดิม เทวดาเหล่านั้นพากันคิดว่าใครๆ เขาคงนิมนต์ท่านฉันในวันพรุ่งนี้ วันนี้ท่านจึงกลับมาพักในที่นี้อีกและวันหน้าท่านก็จะไปที่อื่น แต่ภิกษุก็ยังกลับมาพักในที่เดิมอีก หมู่เทวดาพากันคิดว่า พระภิกษุทั้งหลายจะไปในวันหน้าดังนี้สืบๆ ไป จนเวลาล่วงไปได้ประมาณครึ่งเดือน เทวดาจึงมาคิดกันว่า ชะรอยพระผู้เป็นเจ้าจะอยู่ในที่นี้ตลอดไตรมาสแล้ว พวกเราก็ต้องอยู่กับพื้นดินตลอดไตรมาสด้วยเป็นการลำบากนัก ควรที่พวกเราจะทำวิการอะไรขึ้นให้ท่านไปเสียจากที่นี้เป็นการดี เมื่อปรารภอย่างนี้แล้ว ก็แสดงวิการต่างๆ มีซากศพศีรษะขาดและรูปยักษ์ เป็นต้น กับบันดาลโรคไอและโรคจามให้เกิดขึ้นแก่พระภิกษุทั้งหลาย พระภิกษุทั้งหลายก็อยู่ไม่เป็นผาสุกเหมือนดังแต่ก่อน มีความหวาดกลัว เกิดโรคผอมซีดเซียวลง แล้วจึงพากันออกจากที่นั้นไปสู่สำนักของพระศาสดา ทูลให้ทรงทราบถึงเรื่องที่ได้ประสบต่ออารมณ์อันน่ากลัวต่างๆ และความไม่ผาสุกที่ได้บังเกิดขึ้นแต่โรคนั้นด้วย 🔥 พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระพุทธประสงค์จะให้ภิกษุเหล่านั้นกลับไปเจริญสมณธรรม ในที่เดิมอีก จึงทรงประทานเมตตสูตรเป็นอาวุธเครื่องป้องกัน แล้วมีพระพุทธดำรัสว่า ภิกษุทั้งหลายเธอพึงสาธยายพระสูตรนี้ตั้งแต่ราวไพรภายนอกวิหารเข้าสู่ภายใน วิหาร ภิกษุเหล่านั้นก็ถวายบังคมพระศาสดาแล้วกลับไป เมื่อถึงราวไพรภายนอกที่อยู่ก็สาธยายพระสูตรตามพระพุทธฎีกา แล้วจึงเดินเข้าไปสู่สำนักเดิม คราวนี้หมู่เทวดาเหล่านั้นกลับมีความเมตตา ทำการต้อนรับพระภิกษุเหล่านั้น มีการรับบาตรจีวร และเข้านวดตัว ปัดกวาดสถานที่ ตลอดจนถึงการอารักขาในราวไพรด้วย 🔥 ภิกษุเหล่านั้นเมื่อได้อยู่เป็นผาสุกแล้ว ก็ตั้งจิตบำเพ็ญพระกัมมัฏฐานตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน จิตของท่านก็หยั่งลงสู่วิปัสสนา เห็นความสิ้นและความเสื่อมในตนว่า อัตภาพนี้ก็เป็นเช่นภาชนะดิน คือว่าต้องแตกทำลายไม่ถาวร พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ในพระคันธกุฎี ทราบความปรารถนาของพระภิกษุทั้งหลายนั้นแล้ว จึงเปล่งพระรัศมีในที่ห่างประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ให้เห็นเหมือนว่า เสด็จประทับอยู่ที่เฉพาะหน้าพระภิกษุเหล่านั้น และตรัสพระคาถาว่า “ภิกษุทราบกายนี้ว่าเปรียบกับหม้อ ปิดจิตนี้ให้เหมือนกับนคร พึงรบกับมารด้วยอาวุธ คือ ปัญญา และพึงรักษาความชนะไว้ พึงเป็นผู้หาความพัวพันมิได้” 🔥 เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว ภิกษุ ๕๐๐ รูป ก็ได้บรรลุพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา 🔥 พระสูตรนี้ประกอบด้วยคุณานุภาพเป็นอันมาก เป็นประหนึ่งหัวใจของพระพุทธศาสนา และพระคาถาที่สวดมนต์ มีลำดับแต่เบื้องต้นจนถึงที่สุดประกอบด้วยคำแปล ดังต่อไปนี้ *ประเคน-อังคาส ประเคน เป็นคำกริยาที่ฆราวาสยกสิ่งของถวายให้แก่พระภิกษุ โดยการยกสิ่งของนั้นด้วยมือทั้งสอง ถ้าเป็นผู้ชายจะส่งสิ่งของนั้นให้ถึงมือพระภิกษุ ถ้าเป็นผู้หญิงจะส่งให้ถึงมือไม่ได้ ต้องยกของที่จะถวายนั้นวางบนผ้าหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง พระภิกษุจะจับปลายผ้าหรือสิ่งที่ใช้รับของประเคนไว้ ของใดยังไม่ได้ประเคน ภิกษุจะใช้ของนั้นไม่ได้ อาหารที่ยังไม่ได้ประเคน ภิกษุก็จะฉันไม่ได้. เมื่อประเคนแล้ว ฆราวาสจะไม่จับของนั้นอีก ถ้าไปจับก็ต้องประเคนใหม่. ในการทำบุญเลี้ยงพระ เจ้าภาพจะจัดคนดูแลการฉันภัตตาหารของพระภิกษุ เช่นนำอาหารมาประเคนเพิ่ม. การดูแลพระภิกษุในเวลาฉันภัตตาหารอย่างนี้ เรียกว่า อังคาส (อ่าน อัง-คาด) คำว่า อังคาส เป็นคำจากภาษาเขมรว่า องฺคาส (อ่านว่า อ็อง-เกี๊ยะส์) แปลว่า ถวายของพระ แต่ในภาษาไทยใช้ อังคาส แปลว่า ดูแลปรนนิบัติพระในเวลาฉันภัตตาหาร 

  บทขัดกะระณียะเมตตะสูตร [สังโยค]

 

บทขัดกะระณียะเมตตะสูตร 

ยัสสานุภาวะโต ยักขา เทวดาทั้งหลายย่อมไม่แสดงอาการ

เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง อันน่าสะพรึงกลัว เพราะอานุภาพแห่งพระปริตรใด 

ยัมหิ เจวานยุญชันโต อนึ่ง บุคคลผู้ไม่เกียจคร้านเจริญเนืองๆ 

รัตตินทิวะมะตันทิโต ซึ่งพระปริตรใด ในกลางวัน และกลางคืนก็ดี

สุขัง สุปะติ สุตโต จะ ย่อมหลับเป็นสุข 

ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ และหลับแล้ว ย่อมไม่ฝันร้าย 

เอวะมาทิคุณูเปตัง เราทั้งหลายจงสวดพระปริตร อันประกอบไปด้วย 

ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ ด้วยคุณดังกล่าวมาเป็นอาทินั้น เทอญฯ 

กะระณียะเมตตะสูตร (บทนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “พุทธาวุธ” คือ อาวุธที่พระพุทธเจ้าประทานแก่พระสาวก มีเนื้อหาแสดงถึงการแผ่เมตตา ความปรารถนาไปยังเทวดา สรรพสัตว์ ตลอดจนถึงภูตผีปีศาจต่างๆ อย่างไม่มีประมาณ มีอานิสงส์เป็นที่รักของสามโลก) 

กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ 

 กิจนั้นใดพระอริยเจ้าบรรลุแล้ว 

ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ 

 ซึ่งบทอันระงับกระทำแล้ว กิจนั้นอันกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ พึงกระทำ 

สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ 

กุลบตรนั้น พึงเป็นผู้อาจหาญและซื่อตรงด้วยดี 

 สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี 

เป็นผู้ว่าง่าย ละมุนละไม ไม่มีอติมานะ 

สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ 

เป็นผู้สันโดษ เขาเลี้ยงง่าย 

อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ 

เป็นผู้มีกิจธุระน้อย ประพฤติเบากาย จิต 

สันตินท๎ริโย จะ นิปะโก จะ 

 มีอินทรีย์อันระงับแล้ว มีปัญญา

 อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ 

เป็นผู้ไม่คะนอง ไม่พัวพัน ในสกุลทั้งหลาย

 นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ 

 วิญญูชนล่วงติเตียนชนทั้งหลายอื่นได้

 เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง 

ด้วยกรรมอันใด ไม่พึงประพฤติธรรมอันนั้นน้อยหนึ่ง แล้วพึงแผ่ไมตรีจิต ไปในหมู่สัตว์ว่า

 สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ 

ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้มีความสุข

 สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา 

 มีความเกษม มีตนถึงซึ่งความสุขเถิด

 เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ 

สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ 

ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา 

ยังเป็นผู้สะดุ้ง คือตัณหาอยู่ หรือเป็นผู้ถาวรมั่นคง คือ ไม่มีตัณหาทั้งหมดไม่เหลือ 

ทีฆา วา เย มะหันตา วา 

เหล่าใดเป็นทีฆชาติ หรือโตใหญ่ 

มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา 

 หรือปานกลาง หรือต่ำเตี้ย หรือผอมผี 

ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา 

 เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็น 

เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร 

เหล่าใดที่อยู่ไกล หรือที่ใกล้ 

ภูตา วา สัมภะเวสี วา 

 ที่เกิดแล้วไม่ต้องเกิดอีกต่อไป หรือยังแสวงหาภพต่อไปก็ดี 

สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา 

ขอสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น จงเป็นผู้มีตนถึงซึ่งความสุขเถิด 

นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ 

สัตว์อื่นอย่าพึงข่มเหงสัตว์อื่น

 นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ 

 อย่าพึงดูหมิ่นอะไรๆ เขาในที่ไรๆ เลย

 พ๎ยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา 

ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน

 นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ 

ด้วยความโกรธกริ้ว และด้วยปฏิฆสัญญาความคับแค้น

 มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง 

มารดาถนอมบุตร ผู้เกิดในตน 

อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข 

อันเป็นลูกเอกด้วยอายุ คือ แม้ชีวิตก็สละรักษาบุตรได้ฉันใด

 เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ 

พึงเจริญเมตตาในใจไม่มีประมาณ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง ไปในสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง แม้ฉันนั้น 

เมตตัญจะ สัพพะโลกัส๎มิง 

 บุคคลพึงเจริญเมตตา มีใจไม่มี มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง ประมาณไปในโลกทั้งสิ้น 

อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ 

ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง เป็นธรรมอันไม่มีแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู

 ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา 

ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น ยืนอยู่ก็ดี เที่ยวไปก็ดี นั่งแล้วก็ดี นอนแล้วก็ดี 

สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ 

เป็นผู้มีความง่วงนอนไปปราศแล้ว คือ ยังไม่หลับเพียงไร 

เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ 

ก็พึงตั้งสติระลึกเมตตาเพียงนั้น 

พ๎รัห๎มะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ 

บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวกับกิริยานั้นว่า เป็นพรหมวิหาร ในพระศาสนานี้  

ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา 

บุคคลที่มีเมตตาพรหมวิหาร ไม่เข้าถึงทิฐิเป็นผู้มีศีล 

ทัสสะเนนะ สัมปันโน 

ถึงพร้อมแล้วด้วยทัศนะ คือ โสดาปัตติมรรค กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นำความกำหนัดในกามทั้งหลายออก

 นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ 

ย่อมไม่ถึงความเกิดในครรภ์อีกโดยแท้ทีเดียวฯ คลิ๊กฟังทั้งหมด

 

Share this article :

แสดงความคิดเห็น

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. มหาเทพ - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger