ธรรม และเพลงบูชา :
Recent ธรรม เพลงบูชา

บทสวดมงคล38 ทำนองอินเดีย เพราะมาก เวอร์ชั่นคาราโอเกะ พร้อมคำแปล

บทสวดมงคล38 ทำนองอินเดีย เพราะมาก เวอร์ชั่นคาราโอเกะ พร้อมคำแปล 
บทสวดมงคล38 ทำนองอินเดีย เพราะมาก เวอร์ชั่นคาราโอเกะ พร้อมคำแปล 
บทสวดมงคล38 ทำนองอินเดีย เพราะมาก เวอร์ชั่นคาราโอเกะ พร้อมคำแปล
ฟังบทสวดมนต์ทั้งหมด คลิ๊ก
https://www.youtube.com/watch…
บทสวดมงคล38 ทำนองอินเดีย เพราะมาก เวอร์ชั่นคาราโอเกะ พร้อมคำแปล
เอวัมเม สุตัง
( อันข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาอย่างนี้ ) 
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา
( สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ) 
สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน, อนาถะปิณฑิกะ อาราเม 
( ประทับอยู่ที่เชตวันวิหาร อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี ) 
อะถะ โข อัญญะตะรา เทวะตา
( ครั้งนั้นแล เทวดาองค์ใดองค์หนึ่ง ) 
อะภิกกันตายะ รัตติยา อะภิกกันตะวัณณา
( ครั้งเมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว มีรัศมีอันงามยิ่งยิ่งนัก ) 
เกวะละปัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตวา 
( ยังเชตวันทั้งสิ้น ให้สว่าง ) 
เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ
( พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด ก็เข้าไปเฝ้า ณ ที่นั้น ) 
อุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อภิวาเทตวา 
( ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว จึงถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคแล้ว ) 
เอกะมันตัง อัฏฐาสิ
( ได้ยืนอยู่ในที่สมควรแห่งหนึ่ง ) 
เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวตา
( ครั้นเทวดานั้น ได้ยืนในที่สมควรแห่งหนึ่งแล้ว แล ) 
ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ
( ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถาว่า ) 
พะหู เทวา มะนุสสา จะ
( หมู่เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ) 
มังคะลานิ อะจินตะยุง อากังขะมานา โสตถานัง 
( ผู้หวังความสวัสดี ได้คิดหามงคลทั้งหลาย ) 
พรูหิ มังคะละมุตตะมัง
( ขอพระองค์จงเทศนา มงคลอันสูงสุด ) 
อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา 
( พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การไม่คบคนพาลทั้งหลาย ๑ การคบคบบัณฑิตทั้งหลาย ๑ ) 
ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
( การบูชาชนที่ควรบูชาทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ) 
ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุเพ จะ กะตะปุญญะตา
( การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ การเป็นผู้มีบุญอันทำแล้วในกาลก่อน ๑ ) 
อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ 
( การตั้งตนไว้ชอบ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ) 
พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต
( การเป็นผู้ฟังมาก ๑ ศิลปะ๑ วินัยอันชนศึกษาดีแล้ว ๑ ) 
สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
( วาจาอันชนกล่าวดีแล้ว ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ) 
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห
( การบำรุงมารดาบิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรและภรรยา ๑ ) 
อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ


ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก และคำแลป มีบทสวดตาม

ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก และคำแลป มีบทสวดตาม 

ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกมีดังนี้

๑. 
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วัจจะโส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะโส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วัจจะโส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วัจจะโส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วัจจะโส ภะคะวา

๒. 
อะระหัง ตัง สะระณัง คัจฉามิ 
อะระหัง ตัง สิระสา นะมามิ 
สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ 
วิชชาจะระณะสัมปันนัง  สะระณัง คัจฉามิ 
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ 
สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ 
สุคะตัง สิระสา นะมามิ 
โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ 
โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ

๓. 
อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะโส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะธัมมะสาระถิ วัจจะโส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วัจจะโส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วัจจะโส ภะคะวา

๔. 
อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ 
อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ 
ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ 
ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ 
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ 
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ 
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
พุทธัง สิระสา นะมามิ

๕. 
อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา

๖. 
อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา ปะถะวีจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา เตโชจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๗. 
อิติปิ โส ภะคะวา ยามาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระติธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๘. 
อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมาฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๙. 
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะเนวะสัญญานา 
สัญญายะตะนะอะรูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ เนวะสัญญานา 
สัญญายะตะนะอะรูปาวะ จะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานา 
สัญญายะตะนะ อะรูปาวะ จะระธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๐. 
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปะฏิมัคคะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๑. 
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๒. 
กุสะลา ธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา 
อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ชมภูทีปัญจะอิสสะโร กุสะลา ธัมมา 
นะโม พุทธายะ นะโม ธัมมายะ 
นะโม สังฆายะ ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง 
อา ปา มะ จุ ปะ ,  ที มะ สัง อัง ขุ 
สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ , อุ ปะ สะ ชะ สุ เห ปา สา ยะ 
โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ , เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว 
อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ ภุ พะ , อิ สวา สุ สุ สวา อิ 
กุสะลา ธัมมา , จิตติวิอัตถิ

๑๓. 
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง 
อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
สา โพธิ ปัญจะ อิสาะโร ธัมมา

๑๔. 
กุสะลา ธัมมา นันทะวิวังโก 
อิติ สัมมาพุทโธ สุ คะ ลา โน 
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
จาตุมะหาราชิกา อิสสะโร 
กุสะลา ธัมมา อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน 
  กุสะลา ธัมมา อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน   อุ อุ ยาวะ
ตาวะติงสา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา 
   นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู 
มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
         ยามา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา 
พรหมมาสัททะ ปัญจะ สัตตะ 
  สัตตาปาระมี อะนุตตะโร 
ยะมะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๕. 
ตุสิตา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา 
ปุ ยะ ปะ กะ , ปุริสะทัมมะสาระถิ 
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๖. 
  นิมมานะระติ อิสสะโร กุสะลา ธัมมา 
    เหตุโปวะ สัตถา เทวะมะนุสสานัง 
ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๗. 
ปะระนิมมิตะ อิสสะโร กุสะลา ธัมมา 
สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 
        รูปะขันโธ พุทธะปะผะ 
  ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๘. 
พรหมมา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา 
นัจจิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา
 ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ 
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ 
นะโม สังฆัสสะ พุทธิลา โลกะลา กะระกะนา 
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ 
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ

๑๙. 
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ 
   วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ 
วัตติ วัตติ อัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ 
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

๒๐. 
อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง 
พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง 
จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง 
เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง 
อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง 
มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง 
สัปปุริสาวัง มะหาสัปปุริสาวัง 
พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง 
อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกา 
อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ

๒๑. 
สาวัง คุณัง วะชะพะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง
 นิพพานัง โมกขัง คุยหะกัง ถานัง สีลัง
 ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ตัปปัง สุขัง
 สิริรูปัง จะตุวีสะติเสนัง เอเตนะ สัจเจนะ 
สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

๒๒. 
นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ
 เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ 
วิญญาณะขันโธ นะโม อิติปิโส ภะคะวา

๒๓. 
นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ 
      เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ
วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

๒๔. 
นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ
 เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ 
นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

๒๕. 
นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ 
เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ 
นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

๒๖. 
นะโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
 สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ 
นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง

๒๗. 
นะโม พุทธายะ , มะอะอุ , ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 
ยาวะ ตัสสะ หาโย , นะโม อุอะมะ , ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 
อุ อะมะ อาวันทา , นะโม พุทธายะ , นะ อะ กะ ติ นิ สะ ระ นะ 
อา ระ ปะ ขุ ธัง มะ อะ อุ , ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 


พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (แปล)


๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้รู้แจ้งโลก

๒. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เองโดยชอบว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เอง ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ด้วยเศียรเกล้า

๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นอนุตตะโร คือ ยอดเยี่ยม

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตื่นจากกิเลส

๔. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ

ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็น

ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ด้วยเศียรเกล้า

๕. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น รูปขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เวทนาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สัญญาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สังขารขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น วิญญาณขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

๖. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ดินจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ไฟจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ลมจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ น้ำจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ อากาศจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

๗. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นยามา

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นดุสิต

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นนิมมานรดี

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในกามาวจรภูมิ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในรูปาวจรภูมิ

๘. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปฐมญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ทุติยญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ตติยญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ จตุตถญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปัญจมญาน

๙. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากาสานัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ วิญญาณัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

๑๐. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติมรรค

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิมรรค

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิมรรค

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอรหัตตมรรค

๑๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติผล และ พระอรหัตตผล

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิผล และ พระอรหัตตผล

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิผล และ พระอรหัตตผล

๑๒. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอิสสระแห่งชมภูทวีป

ธรรมะฝ่ายกุศล ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ด้วยหัวใจพระวินัยปิฎก ด้วยหัวใจพระสุตตันตปิฎก ด้วยหัวใจพระอภิธรรมปิฎก

ด้วยมนต์คาถา ด้วยหัวใจมรรคสี่ ผลสี่ และ นิพพานหนึ่ง ด้วยหัวใจพระเจ้าสิบชาติทรงแสดงการบำเพ็ญบารมีสิบ

ด้วยหัวใจพระพุทธคุณเก้า ด้วยหัวใจพระไตรรัตนคุณ ธรรมะฝ่ายกุศล มีนัยอันวิจิตรพิสดาร

๑๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

๑๔. ธรรมะฝ่ายกุศล ของผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา

ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ธรรมะฝ่ายกุศล พระพุทธเจ้าเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นยามา

ธรรมะฝ่ายกุศล ด้วยความศรัทธาต่อพระพรหม ด้วยพระบารมีอันยอดเยี่ยมของพระโพธิสัตว์ทั้งห้า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

๑๕. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดุสิต

๑๖. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี

๑๗. ธรรมฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้รู้แจ้ง สังขารขันธ์ รูปขันธ์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นความทุกข์ มิใช่เป็นตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตตวสวัสดี

๑๘. ธรรมะฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นพรหมโลก ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งตราบเข้าสู่พระนิพพาน

๑๙. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยการสวดมนต์พระคาถานี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๐. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๑. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๒. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

๒๓. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

๒๔. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

๒๕. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว

๒๖. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว

๒๗. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยคำสอนของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยพระธรรมคำสั่งสอน ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง

 

พระคาถาโพธิบาท เวอร์ชั่นคาราโอเกะ

พระคาถาโพธิบาท เวอร์ชั่นคาราโอเกะ 

พ ร ะ ค า ถ า โ พ ธิ บ า ท พระคาถาโพธิบาท เวอร์ชั่นคาราโอเกะ

พ ร ะ ค า ถ า โ พ ธิ บ า ท พระคาถาโพธิบาท เวอร์ชั่นคาราโอเกะ

...บูระพารัส์มิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัส์มิง พระธัมเมตัง บูระพารัส์มิง 
พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร 
วิวัญชัยเย
 สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ
..........อาคะเนยรัส์มิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัส์มิง พระธัมเมตัง
อาคะเนยรัส์มิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญ-
ชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ
..........ทักษิณรัส์มิง พระพุทธะคุณัง ทักษิณรัส์มิง พระธัมเมตัง
ทักษิณรัส์มิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญ-
ชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ
..........หรดีรัส์มิง พระพุทธะคุณัง หรดีรัส์มิง พระธัมเมตัง
หรดีรัส์มิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญ-
ชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ
..........ปัจจิมรัส์มิง พระพุทธะคุณัง ปัจจิมรัส์มิง พระธัมเมตัง
ปัจจิมรัส์มิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญ-
ชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ
..........พายัพรัส์มิง พระพุทธะคุณัง พายัพรัส์มิง พระธัมเมตัง
พายัพรัส์มิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญ-
ชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ
..........อุดรรัส์มิง พระพุทธะคุณัง อุดรรัส์มิง พระธัมเมตัง
อุดรรัส์มิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์



พลงคาถามงคลจักรวาล 8 ทิศ เวอร์ชั่น คาราโอเกะ

พลงคาถามงคลจักรวาล 8 ทิศ เวอร์ชั่น คาราโอเกะ 


เพลงคาถามงคลจักรวาล 8 ทิศ เวอร์ชั่น คาราโอเกะ


เพลงคาถามงคลจักรวาล 8 ทิศ เวอร์ชั่น คาราโอเกะ
อิมัสมิง มงคงจักรวาลทั้งแปดทิศ
ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น
มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว อะนัตตา,
ราชะ เสมานา เขตเต,สะมันตา
สะตะโยชะนะสะ ตะสะหัสสานิ
พุทธะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุฯ

อิมัสมิง มงคงจักรวาลทั้งแปดทิศ
ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น
มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว อะนัตตา,
ราชะ เสมานา เขตเต,สะมันตา
สะตะโยชะนะสะ ตะสะหัสสานิ
ธัมมะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุฯ

อิมัสมิง มงคงจักรวาลทั้งแปดทิศ
ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น
มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว อะนัตตา,
ราชะ เสมานา เขตเต,สะมันตา
สะตะโยชะนะสะ ตะสะหัสสานิ
ปัจเจกะพุทธะ ชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุฯ

อิมัสมิง มงคงจักรวาลทั้งแปดทิศ
ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น
มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว อะนัตตา,
ราชะ เสมานา เขตเต,สะมันตา
สะตะโยชะนะสะ ตะสะหัสสานิ
ส้งฆะ ชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุฯ



คำนมัสการพระอรหันต์ ๘ ทิศ เวอร์ชั่น คาราโอเกะ

คำนมัสการพระอรหันต์ ๘ ทิศ เวอร์ชั่น คาราโอเกะ 
                             นะมัสการพระอะระหันต์ ๘ ทิศ                                            






         นะมัสการพระอะระหันต์ ๘ ทิศ                                                                                                    

หันทะ มะยัง สะระภัญเญนะ พุทธะมังคะละคาถาโย ภะณามะ เส ฯ                                                

     สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฏโฐ            นิสินโน เจวะ มัชฌิเม                                                           

โกณฑัญโญ ปุพพะภาเค จะ             อาคะเณยเย จะ กัสสะโป                                                             

สารีปุตโต จะ ทักขิเณ                       หะระติเย อุปาลี จะ                                                                

ปัจฉิเมปิ จะ อานันโท                       พายัพเพ จะ คะวัมปะติ                                                             

โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร                  อิสาเณปิ จะ ราหุโล                                                                   

อิเม โข มังคะลา พุทธา                     สัพเพ อิธะ ปะติฏฐิตา                                                                

วันทิตา เต จะ อัมเหหิ                        สักกาเรหิ จะ ปูชิตา                                                                 

เอเตสัง อานุภาเวนะ                          สัพพะโสตถี ภะวันตุ โน ฯ                                                          

อิจเจวะมัจจัน  ตะนะมัสสะเนยยัง      นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง                                                   


ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง           ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโย 


ปลงสังขาร มนุษย์เราเอ๋ย เวอร์ชั่น คาราโอเกะ

ปลงสังขาร มนุษย์เราเอ๋ย เวอร์ชั่น คาราโอเกะ 


ปลงสังขาร มนุษย์เราเอ๋ย 


ปลงสังขาร มนุษย์เราเอ๋ย 
มนุษย์เราเอย     เกิดมาทำไม     นิพพานมีสุข

อยู่ใยมิไป     ตัณหาหน่วงหนัก     หน่วงชักหน่วงไว้

ฉันไปมิได้     ตัณหาผูกพัน     ห่วงนั้นพันผูก

ห่วงลูกห่วงหลาน     ห่วงทรัพย์สินศฤงคาร     จงสละเสียเถิด

จะได้ไปนิพพาน     ข้ามพ้นภพสาม     ยามหนุ่มสาวน้อย

หน้าตาแช่มช้อย     งามแล้วทุกประการ     แก่เฒ่าหนังยาน

แต่ล้วนเครื่องเหม็น     เอ็นใหญ่เก้าร้อย     เอ็นน้อยเก้าพัน

มันมาทำเข็ญใจ     ให้ร้อนให้เย็น     เมื่อยขบทั้งตัว

ขนคิ้วก็ขาว     นัยน์ตาก็มัว     เส้นผมบนหัว

ดำแล้วกลับหงอก     หน้าตาเว้าวอก     ดูหน้าบัดสี

จะลุกก็โอย     จะนั่งก็โอย     เหมือนดอกไม้โรย

ไม่มีเกสร     จะเข้าที่นอน     พึงสอนภาวนา

พระอนิจจัง     พระอนัตตา     เราท่านเกิดมา

รังแต่จะตาย     ผู้ดีเข็ญใจ     ก็ตายเหมือนกัน

เงินทองทั้งนั้น     มิติดตัวเรา     ตายไปเป็นผี

ลูกเมียผัวรัก     เขาชักหน้าหนี     เขาเหม็นซากผี

เปื่อยเน่าพุพอง     หมู่ญาติพี่น้อง     เขาหามเอาไป

เขาวางลงไว้     เขานั่งร้องไห้     แล้วกลับคืนมา

อยู่แต่ผู้เดียว     ป่าไม้ชายเขียว     เหลียวไม่เห็นใคร

เห็นแต่ฝูงแร้ง     เห็นแต่ฝูงกา     เห็นแต่ฝูงหมา

ยื้อแย่งกันกิน     ดูน่าสมเพช     กระดูกกูเอ๋ย

เรี่ยรายแผ่นดิน     แร้งกาหมากิน     เอาเป็นอาหาร

เที่ยงคืนสงัด     ตื่นขึ้นมินาน     ไม่เห็นลูกหลาน

พี่น้องเผ่าพันธุ์     เห็นแต่นกเค้า     จับเจ่าเรียงกัน

เห็นแต่นกแสก     ร้องแรกแหกขวัญ     เห็นแต่ฝูงผี

ร้องไห้หากัน     มนุษย์เราเอ๋ย     อย่าหลงกันเลย

ไม่มีแก่นสาร     อุตส่าห์ทำบุญ     ค้ำจุนเอาไว้

จะได้ไปสวรรค์     จะได้ทันพระเจ้า     จะได้เข้าพระนิพพาน


อะหัง  วันทามิ  สัพพะโส  อะหัง  วันทามิ  นิพพานะปัจจะโย  โหตุ ฯ

ดาวโหลดธรรมพระอาจารย์

ดาวโหลดธรรมพระอาจารย์
 
รูปตัวอย่าง




ดาวโหลดธรรม พุทธทาสภิกขุ

ดาวโหลดธรรม พุทธทาสภิกขุ
ดาวโหลดธรรม พุทธทาสภิกขุ รูปตัวอย่างไฟล์ธรรม
 


ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน 



ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน 
หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ เกิดวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2353ตรงกับรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร
ประวัติ
นามเดิมแรกเกิดของท่านคือ เงิน เมื่อท่านอายุได้ 3 ขวบ ผู้เป็นลุงได้พามาอยู่ที่กรุงเทพฯศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดชนะสงคราม ต่อมา เมื่อท่านอายุ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดชนะสงครามศึกษาพระธรรมวินัย คำภีร์มูลกัจจายน์ เวทมนตร์คาถาและวิทยาการต่างๆ จนแตกฉาน จากนั้น ท่านได้อุปสมบทเมื่ออายุครบ 20 ปี ณ วัดชนะสงคราม มีฉายาว่า "พุทธโชติ" บวชได้ 3 พรรษา ก็ย้ายมาจำพรรษาที่วัดคงคาราม (วัดบางคลานใต้) ต่อมาย้ายเข้าไปอยู่ที่ในหมู่บ้านวังตะโก อยู่ห่างจากวัดคงคารามคนละฝั่งเท่านั้น ตอนที่ย้ายจากวัดคงคาราม หลวงพ่อได้นำกิ่งโพธิ์ติดต้วมาด้วย 1 กิ่งแล้วนำกิ่งโพธิ์นั้นมาปลูกเสี่ยงทาย ถ้าหากต้นโพธิ์ตายก็คงจะอยู่ไม่ได้ ถ้าหากที่นี่จะเป็นวัดได้ขอให้ต้นโพธิ์เจริญงอกงาม ปรากฏว่า ต้นโพธิ์เจริญงอกงามแผ่กิ่งก้านสาขาใหญ่โต หลวงพ่อเงินก็ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ที่นี่ด้วย และท่านเป็นเพื่อนกับหลวงปู่ศุข ซึ่งหลวงปู่ศุขก็ได้ฝากกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์มาเป็นลูกศิษย์ด้วย[1]หลวงพ่อเงินถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2464 สิริอายุได้ 111 ปี


ประวัติ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

ประวัติ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ 



พระสุธรรมคณาจารย์ ( หลวงปู่ เหรียญ วรลาโภ )
วัดอรัญญบรรพต ตำบลบ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ นามเดิมว่า เหรียญ ใจขาน หลวงปู่เหรียญท่านเกิด วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2455 ตรงกับวัดขึ้น 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด ณ. บ้านหม้อ ตำบลบ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย โยมบิดา ชื่อ นายผา ใจขาน โยมมารดา ชื่อ นางพิมพา ใจขาน หลวงปู่เหรียญ ฯท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 7 คน หลวงปู่เหรียญฯ ท่านเป็นบุตรคนที่ 2 บรรดาพี่น้องผู้ที่เกิดร่วมบิดามารดาเดียวกัน 6 คนนั้นได้เสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ทุกคน เมื่อหลวงปู่เหรียญอายุได้ 10 ขวบโยมมารดาก็ถึงแก่กรรมจากไปเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และครั้งแรกในวัยเด็ก ครั้นอยู่ต่อมาไม่นานโยมบิดาก็ไปมีภรรยาใหม่ หลวงปู่เหรียญ ฯ จึงได้ย้ายมาอยู่กับโยมยายจนได้อายุ 13 ปี และหลวงปู่ก็ได้เรียนหนังสือจนจบชั้น ป. 4 ระดับการเรียนอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก หลวงปู่เหรียญฯ ดีใจมากที่โยมบิดาอนุญาตให้ไปบวชตามใจประสงค์ อย่างแรงกล้า หลวงปู่เหรียญฯ ท่านได้เตรียมตัวบวชเป็นตาผ้าขาวก่อนเรียนท่องขานนาคฝึกข้อวัตรรักษาศีล 8 อยู่ 15 วันก็ได้อุปสมบท ณ. พระอุโบสถวัดบ้านหงส์ทอง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย มีท่านพระครูวาปีดิฐวัตรเป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระอาจารย์พรหม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อเดือน มกราคม พ.ศ. 2475 ในฝ่ายมหานิกาย หลวงปู่เหรียญฯ ท่านได้กลับมาอยู่จำพรรษา ณ. วัดโพธิ์ชัย ตำบลบ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ ได้ญัตติเป็นพระธรรมยุตเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2476 เวลา 17.23 น. ณ.พระอุโบสถ วัดโพธิ์สมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ ( จูม พนฺธโล ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูประสาทคณานุกิจเป็นพระกรรมวาจาจารย์ โดยพระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม ได้พาหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ มาญัตติเป็นพระธรรมยุต ท่านพระอาจารย์บุญมา ได้ถามหลวงปู่เหรียญ ว่า “ คุณจะศึกษาเล่าเรียนปริยัติธรรม หรือว่าจะปฏิบัติวิปัสสนาธุระต่อไป” หลวงปู่เหรียญ ฯ เรียนตอบท่านว่า “จะเอาทั้งสองอย่างส่วนการศึกษานั้นจะดูตามตำราเอา” ท่านหลวงปู่ก็ยินดีในพรรษาที่ 5 ปี พ.ศ. 2481 ได้เดินทางไปหาท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตเถระ และได้อยู่จำพรรษาที่จังหวัดเชียงใหม่ หลวงปู่เหรียญ ฯ ท่านออกธุดงค์ในเขตภาคเหนือเป็นเวลา 13 ปี จากนั้นท่านได้ไปเผยแผ่ธรรมะทางภาคใต้รวมเวลา 8 ปี โดยมีหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เป็นหัวหน้ากองทัพธรรม พรรษาที่ 27 ปี พ.ศ. 2502 หลวงปู่เหรียญฯ ได้เดินทางหลับมาภาคอีสานจำพรรษาที่สำนักสงฆ์โรงเรียนบ้านหม้อเหนือ และพรรษาที่ 28 – 72 หลวงปู่มาจำพรรษาอยู่ ณ. วัดอรัญญบรรพต บ้านหม้อ ตำบลบ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ( พ.ศ. 2503-2548 )

หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ มรณภาพ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ด้วยโรคชรา ณ. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพฯ สิริรวมอายุได้ 93 ปี 4 เดือน 28 วัน พรรษา 72

ประวัติหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

ประวัติหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี 


พระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ) ( 27 มีนาคม พ.ศ. 2430 – 5 มีนาคม พ.ศ. 2524) เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลี เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดธนบุรีในอดีต เป็นพระคณาจารย์ที่รู้จักกันดี ด้วยวัตรอันปฏิบัติอันงดงามเป็นที่เคราพศรัทธาของชาวพุทธทุกชนชั้น ท่านถึงพร้อมด้วยบุญบารมีและอิทธิบารมี พระเครื่องของท่านมีปาฏิหาริย์ศักดิ์สิทธิ์ มีประสบการณ์เล่าขานมากมายจกเหนือจดใต้ทั่วประเทศไทย จนกลายเป็นพระหลักยอดนิยมของเมืองไทย[1] ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 - 5 มีนาคม พ.ศ. 2524 จนกระทั่งมรณภาพ รวมระยะเวลานานถึง 68 ปี ขณะนี้ พระครูวินัยธรเพลิน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสมาตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 จนถึงปัจจุบัน

เนื้อหา

    1 ประวัติ
    2 ออกธุดงค์
    3 ปฏิปทาและจริยาวัตร
    4 เบื้องปลายชีวิต
    5 สมณศักดิ์
    6 อ้างอิง

ประวัติ
พระปิตตาหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

พระราชสังวราภิมณฑ์ หรือ หลวงปู่โต๊ะ เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2430 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรของนายพลอย และนางทับ รัตนคอน มีพี่น้องอยู่ร่วมกัน 2 คน ซึ่งถึงแก่กรรมก่อนหลวงปู่ตั้งนานแล้ว ในวัยเด็ก เด็กชายโต๊ะ ได้เข้าเรียนวิชาอยู่ที่วัดเกาะแก้ว ใกล้บ้านเกิดของท่าน เมื่อมารดาถึงแก่กรรม พระภิกษุแก้ว เห็นความขยันหมั่นเพียรของเด็กชายโต๊ะ จึงได้พาเด็กชายโต๊ะ มาฝากอยู่กับพระอธิการสุข เจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีในสมัยนั้น ส่วนนายเฉื่อยก็ไม่ได้ตามมาด้วย คงอยู่ที่วัดเกาะแก้วเหมือนเดิม ท่านได้มาเรียนหนังสืออยู่ที่วัดประดู่ฉิมพลีอยู่เป็นเวลาอยู่ 4 ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 17 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2447 โดยมีพระอธิการสุขเป็นอุปัชฌาย์ บรรพชาได้วันเดียวพระอธิการสุข ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์และผู้อุปการะของท่านก็ได้มรณภาพ นายคล้าย นางพันธ์ ซึ่งเป็นพี่ชายกับพี่สะใภ้ของพระอธิการสุข และมีบ้านอยู่ใกล้วัดประดู่ฉิมพลีจึงได้อุปการะท่านต่อมา เมื่อบรรพชาแล้ว ท่านก็มาเรียนศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ที่ วัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งต่อมามีพระอธิการคำ เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา พร้อมทั้งเรียนกรรมฐานกับพระอาจารย์พรหม วัดประดู่ฉิมพลีอีกท่านหนึ่งด้วย จนกระทั่งเมื่อมีอายุได้ 20 ปี สามเณรโต๊ะ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 ณ พัทธสีมา วัดประดู่ฉิมพลี โดยมีพระครูสมณธรรมสมาทาน (แสง) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอักขรานุสิต (ผ่อง) วัดนวลนรดิศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูธรรมวิรัต (เชย) วัดกำแพง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า อินทสุวัณโณ หลงจากนั้น ท่านได้เรียนศึกษาปฏิบัติคันทธุระ วิปัสสนาธุระ หลวงปู่โต๊ะ ท่านเป็นคนมีความเพียรพยายาม จนกระทั่งสอบได้นักธรรมชั้นตรี ต่อมาพระอธิการคำ ได้มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งท่านให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีสืบต่อมาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2456[2]
ออกธุดงค์

ต่อมาหลวงปู่โต๊ะ ได้ออกธุดงค์จาริกไปทั้วทุกภาคในประเทศไทย ทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ท่านได้ไปศึกษาพระปริยัติธรรม โดยได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ เรียนวิชาพุทธาคม และได้ไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน และก็ได้ธุดงค์ไปยังภาคเหนือเพื่อศึกษาวิชากับพระอาจารย์อีกหลายท่าน และในขณะที่ท่านเดินธุดงค์ ท่านก็ได้เรียนวิปัสสนากรรมฐานกับ หลวงพ่อชุ่ม วัดราชสิทธาราม ส่วนสหธรรมิกของท่านที่มีชื่อเสียงได้แก่ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง หลวงพ่อกล้าย วัดหงส์รัตนาราม และต่อจากนั้น ท่านก็เดินทางไปยังภาคใต้ ไปที่จังหวัดปัตตานี และเมื่อหลวงปู่ท่านกลับมาที่ จังหวัดธนบุรี กลับมายังวัดประดู่ฉิมพลี ท่านก็ได้สร้างพระพุทธบาทจำลอง [3]
ปฏิปทาและจริยาวัตร

หลวงปู่โต๊ะ ท่านเป็นคนที่มีศีลวัตรปฏิบัติอันงดงาม มีกริยามารยาทที่งดงาม มีความสุภาพอ่อนโยน มีความเมตตากรุณาต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และสามารถล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคตได้ และท่านได้เคยเจอเกี่ยวกับโรคระบาด หลวงปู่ท่านเห็นคนหลายคนไม่สบาย ท่านก็รู้สึกไม่สบายใจ เพราะท่านเองก็เป็นโรคนี้ด้วยเหมือนกัน ท่านจึงตั้งจิตว่า หากท่านยังมีชีวิตอยู่ ขอให้ท่านจงหายจากโรคนี้ แต่ถ้า ท่านหมดบุญแล้ว ก็ขอให้ตายซะ ในตอนกลางคืน ท่านได้นิมิตว่า หลวงพ่อบ้านแหลมได้นำน้ำพระพุทธมนต์มาเจริญให้ ตื่นมาท่านก็มาเจริญน้ำพระพุทธมนต์ และสุดท้ายท่านก็หายจากโรคนี้[4]
เบื้องปลายชีวิต

หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ท่านได้เริ่มอาพาธด้วยโรคชรา เนื่องจากว่า ตั้งแต่ตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ มีผู้คนมานิมนต์ท่านให้ออกมาให้พร หรือ ขอความช่วยเหลือ ท่านจึงไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน สุขภาพท่านจึงไม่ค่อยแข็งแรง แต่ยังพอฉันอระไรได้มาก แม้จะรักษาอย่างดีเท่าใด แต่สุขภาพ กายสังขารของท่านก็ไม่อาจจะทนไหว ท่านได้อาพาธครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 และก่อนมรณภาพได้เพียง 7 วัน ท่านลุกจากเตียงไม่ได้เลย จนกระทั่งเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2524 คณะลูกศิษย์ทีเป็นพยาบาล ได้มาถวายรังนกอีก แต่คราวนี้สังเกตได้ว่า แขนของท่าน บวม ท่านอยู่ได้จนกระทั่งเมื่อเวลา 9:55 น. ท่านได้ถึงแก่มรณภาพลงด้วยอาการสงบ รวมสิริอายุได้ 93 ปี 73 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดให้เชิญศพไปตั้งที่ศาลา 100 ปี วัดเบญจมบพิตร พระราชทานเกียรติยศศพเป็นพิเศษ เสมอพระราชาคณะชั้นธรรม พระราชทานโกศโถบรรจุศพ พร้อมฉัตรเบญจาเครื่องประกอบเกียรติยศครบทุกประการ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่การศพโดยตลอด เสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล 7 วัน 50 วัน 100 วัน และตามโอกาสอันควรหลายวาระ[5]
สมณศักดิ์

หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ ได้รับสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้[6]

    พ.ศ. 2457 - เป็นพระครูสัญญาบัตรฐานานุกรมในสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) ที่ พระครูสังฆวิชิต
    พ.ศ. 2463 - เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูวิริยกิตติ์[7]
    พ.ศ. 2497 - เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทในราชทินนามเดิม
    พ.ศ. 2506 - เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกในราชทินนามเดิม
    พ.ศ. 2511 - เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษในราชทินนามเดิม
    พ.ศ. 2516 - เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสังวรวิมลเถร[8]
    พ.ศ. 2521 - เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสังวราภิมณฑ์ โสภณภาวนานุสิฏฐ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[9]

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. มหาเทพ - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger